๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
Dia บน Ubuntu 7.04
ทำไมถึงยังใช้แค่ Ubuntu 7.04 ที่ไม่ใช้ 7.10ก็เพราะOpen Office 2.3 ตัวเดียว (เสียดายจริงๆ ) ที่เสียดายก็เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานอยู่เป็นประจำนั่นเอง ส่วนอื่นๆ ยอมรับว่าดีเยี่ยม ไม่เป็นไรแค่ 7.04 ก็นับว่าเยี่ยมแล้ว
วันก่อนทดลองติดตั้ง Dia 0.96.1 เพิ่งยอมรับก็ครั้งนี้แหล่ะว่าเยี่ยมจริงๆ เพราะแต่ก่อนสมัยที่ยังใช้อยู่บนวินโดวก็ไม่ถูกใจเท่าไร เพราะว่ายังไม่มีกราฟิกเพิ่มเติมมากเหมือนบนลินุกส์ แต่รุ่นหลังๆ ยังไม่ได้ลอง การติดตั้งราบรื่นดี การใช้งานไม่มีสะดุดเลย
มาถึงตอนนี้แล้วพิจารณาดูก็รู้ว่าโปรแกรมต่างๆที่ต้องการใช้ (แบบที่ใช้บนวินโดว)มีทดแทนเกือบหมดแล้ว จะยังก็เฉพาะโปรแกรมตัดต่อหนังที่ใช้งานง่ายๆ และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ง่ายๆ ซึ่งถ้ามีพร้อมตามที่อยากได้ คงเลิกใช้วินโดวแบบสนิทๆ ซะที
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
ทดลองใช้ ubuntu 7.10 และ xubuntu 7.10
สิ่งที่ทำให้ไม่อยากใช้ หรือไม่กล้าใช้ก็คือ open Office 2.3 ซึ่งไม่ถูกกับภาษาไทย จะเกิดอาการแฮงค์ใช้งานไม่ได้ Open Office จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในปลายปี งั้นต้องคอยใช้ ubuntu 8.04 น่าจะเวิร์คกว่า หรือทางที่ดี ถอด Open Office 2.3 ออกแล้ว ติดตั้ง Open Office 2.2 แทน ก็น่าจะเวิร์คดี แต่วิธีการทำเป็นยังงัยไม่รู้ อย่าดีกว่า ใช้ ubuntu 7.04 เหมือนเดิมไปก่อน รออีก 6 เดือน คอยรุ่น 8.04 อาจมีอะไรดีๆเพิ่มขึ้น
เท่าที่ใช้งานมาพบว่าทั้ง ubuntu 7.10 และ Xubuntu 7.10 เวิร์คทั้งคู่ จัดว่าดีมาก แต่ถ้า Open Office 2.3 ไม่มีปัญหาอะไร ก็จะใช้งานหล่ะ แต่ปัญหาไปเกิดที่โปรแกรมที่ใช้งานเป็นประจำเลยต้องกลับมาใช้ Ubuntu 7.04 อย่างเดิม
๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
บังคับปิดโปรแกรม
๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
ติดตั้้ง kooldock
ntfs-config บน Kubuntu
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
การ์ตูนกับการเรียนรู้
ตอนนี้เลยอยากเอาการ์ตูนเข้าโรงเรียนให้เด็กๆได้เรียนอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้ความรู้ ได้แง่คิด และได้กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งได้ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน
การทดลองเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำกิจกรรมนี้ไปใช้ในโรงเรียนเริ่มที่โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูลในวันเสาร์โดยทำงานร่วมกับครูธนรัตน์ การทำงานเริ่มโดยครูธนรัตน์ให้ผู้เรียนได้ดูหนังสือการ์ตูน (เด็กชอบมากเลย หนังสือการ์ตูน) แล้วให้นักเรียนลองเขียนเรื่อง (การ์ตูน 4 ช่อง)(การ์ตูนถ้ามีการนำเสนอเป็นช่องๆ เขาจะเรียกว่า โคมิค :comic กิจกรรมวันนั้นเลยใช้ชื่อว่า comic in classroom) หลังจากที่นักเรียนวาดภาพประกอบเรื่องเสร็จแล้ว จึงนำภาพที่นักเรียนวาด นำไปตกแต่งในคอมพิวเตอร์ (เรียกได้ว่า ตอนนี้งานศิลปะ กับเทคโนโลยีได้มาพบกันแล้ว) โปรแกรมที่ใช้คือ The GIMP (โปรแกรมตกแต่งภาพประเภท Opensource) หลังจากตกแต่งภาพแล้ว จึงทำหนังสือการ์ตูนด้วยโปรแกรม comic book creator รุ่นทดลองใช้้
๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐
วันนี้นอนไม่หลับ เลยแก้ไขหน้า login
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ทรมานจึงต้องหาอะไรทำ จะได้ไม่ต้องบังคับให้ตัวเองหลับ สิ่งที่ทำในตอนนี้คือเปลี่ยนหน้าจอเข้าระบบใหม่ เปลี่ยนพื้นหลัง เปลี่ยนสีหน้าจอ และเปลี่ยน splash screen ขั้นตอนต่างๆลืมไปหมดแล้วดีแต่ว่าหาเจอ ขี้เกียจเขียนเลยลอกมาทั้งดุ้นจาก ubuntu club ตามนี้เลยนะ
การเปลี่ยน splash screen และสีพื้น
Submitted by ansswd on 15. May 2007 - 18:54.
Howto • background • icon • login • splash screen • theme
สำหรับคนที่เบื่อสีพื้นส้มอ่อน การเปลี่ยนสีพื้น ต้องทำสองที่ครับ คือ
1. ที่ System/Administration/Login Window ที่ tab Local เปลี่ยน Background Color ที่นี่
และที่
2. ที่ System/Preferences/Desktop Background ให้เปลี่ยนสีที่ Desktop Colors
ข้อ 1. เป็นตอนที่เกิด splash screen ครับ ส่วนข้อ 2. จะเกิดถัดมาจากข้อ 1.
สำหรับการเปลี่ยน splash screen ซืึงหมายถึง logo ของ ubuntu ตอนที่โหลด gnome และ nautilus มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ครับ
1. ไปที่ /usr/share/pixmaps/splash แล้วคัดลอกรูปนามสกุล .png หรือ .jpg ที่ต้องการให้เป็น splash screen ใหม่ลงไป
2. ไปที่ Applications/System Tools/Configuration Editor เลือก /apps/gnome-session/options ที่ splash_image ให้แก้เป็น splash/ชื่อแฟ้มภาพใหม่.นามสกุล png หรือ jpg
3. ถ้าไม่มี Configuration Editor ให้ไปที่ System/Preferences/Main Menu แล้วเลือก Applications/System Tools แล้วคลิกเครื่องหมายถูกที่หน้า Configuration Editor ครับ
สำหรับแหล่ง splash screen, theme, icon, wallpaper, login ให้ลองไปที่นี่ครับ
http://www.gnome-look.org/
จะพบชิ้นส่วนโฉมหน้า ubuntu สวย ๆ มากมาย เอามาประดับประดา ผมเองจะเลือกอันที่ score ตั้งแต่ 80% ขึ้นไปครับ หุหุหุ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
1.หน้าตาตอน login ให้เพิ่มที่ System/Administration/Login Window แล้วคลิกที่ +Add แล้วก็เลือกแฟ้ม GDM Theme ที่ download จาก gnome-look (จำนามสกุลไม่ได้ ลอง ๆ ดูเอง ละกัน)
2.การเพิ่ม icon และ theme ไปที่ System/Preference/Theme ถ้าจะเพิ่ม theme ให้กดปุ่มที่ +Install Theme แล้วเลือกแฟ้มที่มีคำว่า theme ที่ download จาก gnome-look ถ้าจะเพิ่ม icon ให้กด Cuntomized... คลิก tab Icons แล้วคลิกปุ่ม +Install... แฟ้มที่เลือกจะต้องมีคำว่า icon อยู่เป็นส่วนใหญ่(theme จะเป็นรูปร่างของหน้าต่างย่อยครับ รู้สึกจะมีอันที่ทำเลียนแบบ OS X ด้วยแหละ)
3.การเพิ่ม wallpaper หรืก ภาพ desktop background ให้ไปที่ System/Preferences/Desktop Background แต่วิธีนี้เราต้องมีแฟ้มภาพอยู่ในเครื่องด้วย เพราะ ubuntu ไม่ได้ copy เก็บในเครื่องให้เราเหมือน icon, theme, หรือ login
ขอบคุณทาง ubuntuclub ด้วยนะครับ ต้องขอโทษที่ลอกมาทั้งดุ้น เอามาเก็บไว้ที่นี่กันลืม (เอาไว้ทบทวน)
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
เปลี่ยนพื้นหลัง login screen ใน ubuntu
gdm theme ที่ทำการเปลี่ยนจะอยู่ที่ /usr/share/gdm/themes/ชื่อของ gdm จะเปลี่ยนอะไรก็อยู่ในนี้
ขันตอนต่อไปกำลังทบทวน
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐
โปสเตอร์ในชั้นเรียน
Posteriza จาก http://www.posteriza.com/ เป็นโปรแกรมฟรีที่ใช้งานได้ดีสามารถแทรกข้อความบนรูปภาพได้
Posterazor จาก http://sourceforge.net/ ค่ายนี้เป็น Opensource ฟรี ดี แจกจ่ายได้ โปรแกรมนี้พิเศษกว่าใครๆ คือจะสร้างไฟล์ pdf มาให้ดังนั้นไฟล์ที่ได้จึงสามารถนำไปพิมพ์กับเครื่องอื่นๆได้ด้วย
Poster Printer จาก http://sourceforge.net/ ก็เป็น Opensource อีกตัวที่ดี โปรแกรมนี้ต่างจาก 2 โปรแกรมแรก เพราะ2 แบบแรกต้องใช้ไฟล์ภาพในการทำงาน แต่โปรแกรมนี้สามารถพิมพ์ได้จากเอกสารทุกรูปแบบทั้ง openoffice.org หรือรูปภาพก็ได้ เขาจะทำหน้าที่เหมือนกับเป็นปริ้นเตอร์ สามารถพิมพ์เอกสารให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติได้ โปรแกรมนี้น่าสนใจ ครูสามารถสร้างเอกสารความรู้ขนาดใหญ่ ราคาย่อมเยาว์มาให้ความรู้นักเรียนได้ไม่ยากเลย แบบนี้ต้องสะสม แต่ก็กลัวลืมไปว่าเคยเห็นที่ไหน ต้องบันทึกไว้ที่นี่กันลืม
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
เริ่มทำ CG paint อย่างง่ายๆ
http://www.itemstudio.org/phpbb3/viewtopic.php?f=5&t=965
ถ้าครูคิดแสวงหาเทคนิคดีๆมาสอนนักเรียน จะดีมากๆ แต่อย่าเบื่อแล้วกัน
ที่นี่เป็นของฝรั่ง
http://www.monmouth.com/~hans/howto/
บันทึกไว้ที่นี่ละกัน จะได้ไม่ลืม
วันหลังจะเอาผลงานมาโชว์
โปสเตอร์ขนาดใหญ่ พิมพ์เอง
สำหรับห้องเรียน อาจจะไม่จำเป็นต้องพิมพ์ด้วยไวนิลเพราะราคาต่อการพิมพ์แต่ละครั้งก็สูงพอสมควร (แต่ก็ใช้งานได้นานมาก คุ้มราคา) ถ้าจะเอาแบบพอใช้ได้ สามารถทำเองได้จะทำอย่างไร
วันนี้ท่องเว็บเพื่อหาจุดพบกันระหว่างศิลปะกับคอมพิวเตอร์ไปพบเว็บหนึ่ง ที่ช่วยงานนี้ โดยเราอั๊บภาพขึ้นเว็บเขาแล้วเขาจะทำเป็นภาพขนาดเล็กส่งกับมาในรูปของไฟล์ PDF ให้เราพิมพ์ออกมาต่อกันเอาเอง น่าสนนะ
ที่ http://www.blockposter.com
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
ระบบแลกเปลี่ยนไฟล์
กะว่าจะแจกจ่ายบนเว็บ ศน.อภิเดช วันนี้ดันเข้าไม่ได้ซะนี่ อาจเป็นเพราะไฟฟ้าดับ แต่ก็ไม่แน่เพราะช่วงนี้รู้สึกเซิร์ฟเวอร์อืดๆไป เข้าถึงข้อมูลได้ช้ามาก เครื่องอาจใกล้เดี้ยงแล้วก็เป็นได้
โปรแกรมที่ทำสำเร็จแล้วเป็นระบบที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้แต่อับโหลดไม่ได้ ถ้าสมัครเป็นสมาชิกแล้วจะสามารถอับโหลดไฟล์ได้ ไฟล์ที่อับโหลดเจ้าของไฟล์เท่านั้นที่สามารถลบออกจากระบบได้ เมื่อดาวน์โหลดไฟล์แล้วจะมีตัวนับว่ามีคนดาวน์โหลดไปเท่าไรแล้ว แบบนี้ถ้านำมาใช้ในการเผยแพร่สื่อของครูก็จะทำให้ทราบว่าเผยแพร่ไปแล้วกี่ราย คุณครูจะได้เอาสถิติไปใช้งานเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงาน
ตอนนี้ถ้าสนใจก็ดาวน์โหลดฉบับภาษาอังกฤษไปใช้แล้วแก้ไขเองก่อน วันพรุ่งนี้จะอับโหลดไฟล์ให้ดาวน์โหลดที่ เว็บ ศน.อภิเดช
ระบบแลกเปลี่ยนไฟล์แบบนี้เคยทำไว้ที่เว็บ KMC ของเขต การใช้งานมีลักษณะแบบเดียวกันนี้ ต่างกันที่ลิขสิทธิแบบที่ใช้ที่ KMC เขาไม่ให้แจกจ่ายโปรแกรมที่แก้ไขแล้ว เลยแก้ไขปรับปรุงไว้ใช้เอง แต่ตัวนี้มีลิขสิทธิแบบ GNU ทำให้สามารถปรับปรุง พัฒนาและแจกจ่ายได้อย่างเสรี
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
การเขียนไฟล์ redirect
เขาเขียนอย่างนี้
............
header( 'Location: http://202.143.164.22/sk3/blog/' ) ;
............
ก็ไม่รู้ว่าเคยเขียนไว้หรือเปล่า
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
ubuntu 7.04
สิ่งที่น่าประทับใจอีกอย่างคือ การเขียนไฟล์ลงบน ntfs ทำได้โดยการเชื่อมต่อด้วย ntfs-config แบบกราฟิก ต่อแต่นี้ไปจะได้ไม่ต้อมมา mount โดยใช้คำสั่งให้ยุ่งยาก เขียน ntfs ได้ทั้งแบบภายในและภายนอก (ความสามารถนี้มีแล้วใน ubuntu 6.10 ทดลองแล้วบน core2duo)
สรุปก็คือ ubuntu 7.04 ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น
ต่อมาก็เป็นขั้นตอนของกรติดตั้งฟอนต์ของงวินโดว แบบใช้งานคนเดียว ขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.ก๊อบปี้ไฟล์ฟอนต์ของวินโดวมาเก็บไว้
2.สร้างโฟลเดอร์ชื่อ .fonts (แบบนี้โฟลเดอร์จะหายตัว)
3. คัดลอกไฟล์ฟอนต์ทั้งหมดแปะไว้ที่โฟลเดอร์ .fonts (โฟลเดอร์จะหาย ต้องให้แสดงโฟลเดอร์ที่ซ่อนไว้โดยการกด ctrl+h) ก็มีขั้นตอนเพียงเท่านี้ นี่แหล่ะการติดตั้งฟอนต์ไว้ใช้เองแต่เพียงผู้เดียว
๙ มิถุนายน ๒๕๕๐
ติดตั้ง sBLOG
เว็บล๊อก คือ หนทางหนึ่งที่เราจะใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้น นี่คือ ที่มาของการทดลองใช้ sBLOG
การทดลองติดตั้งบน ubuntu 6.06 ใช้งานได้ดี แต่จะมีปัญหาในเรื่อง encoding เล็กน้อย เพราะโดยมาตรฐานของ ubuntu จะใช้ utf8 ทำให้ต้องมาตั้ง encoding เรื่อยๆ (เขาว่ามีปัญหามาจากการสื่อสารระหว่างฐานข้อมูล.อันนี้เคยอ่านเจอ..แต่จำการแก้ไขไม่ได้)
ตอนนี้ก็ติดตั้งบน FC2 ไม่มีปัญหา แก้ไขสคริปต์ใหม่บางส่วนตามสไตล์ที่อยากได้
เรื่องการจัดการความรู้..มีประเด็นหลายอย่างที่ต้องกลับมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไร การที่จะให้ทำตามแบบที่เขาให้ความรู้และเทคนิคมา คงไม่หล่ะ ต้องปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสไตล์เรา แม้แต่สคริปต์เว็บที่เขาให้มายังต้องเปลี่ยนโน่นนี่เลย คงเบื่อแย่ที่จะทำอะไรแบบลอกเขามาทั้งหมด (อันนี้บ่น)
ขั้นตอนการติดตั้ง อย่างแรกคือ chmod 777 ที่ /upload และ /upload/tn
ขั้นตอนต่อไปให้เข้าไปที่ /install/install.php ทำตามที่เขาบอก มีการก๊อปปี๊โค๊ตไปสร้าง config.php แล้วอับโหลดแถมเข้าไปในเว็บ ก็แค่นี้เสร็จแล้ว ใช้งานได้ดีมากๆ (เซิร์ฟเวอร์ต้องติดตั้ง GD ด้วยไม่งั้นทำงานไม่ดี)
เมื่อติดตั้ง Beryl แล้วไม่ทำงาน
เขาบอกว่าอย่างนี้
เปิดเทอร์มินอลแล้วพิมพ์
glxinfo | grep direct
ถ้าเขาทำงานปกติจะแสดงคำตอบว่า
direct rendering: Yes
แต่ถ้าเป็น No ต้องตรวจสอบด้วยคำสั่ง
lsmod | grep 915
เขาบอกว่าผลลัพธ์ น่าจะเป็นทำนองนี้
i915 21632 3
drm 74644 4 i915
tsdev 9152 0
เขาบอกว่าถ้ามีแต่บรรทัด tsdev ให้ไปแก้ไข xorg.conf (ต้องแบคอับไว้ด้วยนะ)
เข้าไปแก้ด้วยคำสั่ง
sudo gedit /etc/X11/xorg.conf
ที่ Section “Device” ให้ลองแก้ชื่อของ driver จาก i915 เป็น i815 แล้ว restart จากนั้นให้กด Ctrl + Alt + F1 เพื่อเข้าสู่ text mode แล้วใช้คำสั่ง
sudo vim /etc/X11/xorg.conf
กด I เพื่อแก้ไขข้อความ
ไปที่ Section “Device” แก้ชื่อ driver กลับมาเป็น i915 ตามเดิมแล้วพิมพ์ว่า
:write
(กด enter เพื่อ save)
:quit
(กด enter)
จากนั้นลอง restart เครื่องดู
ทั้งหมดนี้มากจากเว็บข้างต้น (เขียนไว้กันลืมเพราะบางครั้งที่ wordpress ก็เข้าไม่ได้ คนเยอะ)
๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
Ubuntu linux กับ GD
พบว่าตรงใจเลย อีกอย่างตอนนี้มีคนพัฒนาเป็นภาษาไทยแล้ว ทำให้ไม่ต้องมานั่งแต่งโค๊ตเหมือนที่เคยทำกับ Angleline เมื่ออ่านวิธีใช้พบว่าต้องติดตตั้ง GD จึงจะทำงานได้สมบูรณ์ เพราะมีการย่อภาพให้ด้วยตอนอับโหลด
การทดลองเริ่มขึ้นบน ubuntu 6.06 ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง GD
คำถามที่มีในใจตอนนั้นคือ GD ติดตั้งกันยังงัย
ค้นหาบนอินเทอร์เน็ตได้คำตอบว่า GD ที่ติดตั้งบน ubuntu ใช้ชื่อว่า php5-gd
รู้อย่างนี้แล้วจึงทำการติดตั้งโดยใช้ synaptic
(ไม่โปรเลย เพราะโปรเขาจะใช้คำสั่ง)
$ sudo apt-get install php5-gd
หลังจากนั้นจึง Restart Apache ด้วยคำสั่ง
# sudo /etc/init.d/apache2 restart
ติดตตั้งโดยใช้ synaptic รู้สึกว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ 2 ไฟล์ด้วยกันแต่จำชื่อไม่ได้
แต่ทุกอย่างก็ OK
๗ มิถุนายน ๒๕๕๐
การติดตั้ง Beryl
1.เพิ่มแหล่งข้อมูลต่อที่บรรทัดสุดท้ายของไฟล์ source.list โดยเปิดเทอร์มินอล แล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้
sudo gedit /etc/apt/source.list
2.เพิ่มแหล่งข้อมูลดังนี้
deb http://ubuntu.beryl-project.org/ edgy main
deb-src http://ubuntu.beryl-project.org edgy main
3.บันทึกแล้วปิดโปรแกรม gedit
4.เปิดเทอร์มินอลแล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลด GPG key เพื่อให้สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
wget http://ubuntu.beryl-project.org/root@lupine.me.uk.gpg -O - | sudo apt-key add -
5.อับเดดระบบให้เจอแหล่งข้อมูล โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้บนเทอร์มินอล
sudo apt-get update
6.ติดตั้ง beryl โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้บนเทอร์มินอล
sudo apt-get install beryl
7.ติดตั้ง theme ของ beryl ด้วยคำสั่งต่อไปนี้บนเทอร์มินอล
sudo apt-get install emerald-themes
แค่นี้ก็ใช้งานได้แล้ว..เฮ้อ ได้เอฟเฟค หน้าต่างแบบสวยๆไว้ใช้งานแล้ว
๖ มิถุนายน ๒๕๕๐
คำสั่ง ln
อาจารย์บอกว่า ใช้คำสั่งนี้ก็ได้ ง่ายกว่า
ln -s /home/user new_name
อยากจะทดลองใช้ แต่ไม่มีเครื่องสำหรับทดลอง คงต้องลงทุนซื้อเครื่องอีกแล้ว ปีที่แล้วก็ลงทุนซื้อเครื่องซัมซุงมาทดลองและอบรมลินุกซ์ซิสให้โรงเรียน ปีนี้ไม่รู้จะต้องซื้อเครื่องอะไร (ลงทุนเองอีกแล้ว)
๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
คำสั่งที่มักจะลืม
ln -s /home/sss/public_html /var/www/html/new_ss
เป็นการสร้างลิงค์จาก public_html ของ sss โดยใช้ชื่อใหม่ว่า new_ss ใน /var/www/html
ไม่ได้ชอบลืม แต่ลืมทั้งๆที่ไม่ชอบ
เฮ้อ !!!
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
MySQL Server บน Ubuntu6.06
วันนี้เลยดาวน์โหลดเว็บบอร์ดมาทดลองแก้ไขดู แต่จะทดลองเซิร์ฟเวอร์ที่ดูแลอยู่คงจะวุ่นวาย
จึงทดลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวที่ใช้งานประจำดีกว่า (ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu 6.06)
เว็บบอร์ดจะทำงานได้ก็เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ดังนั้นเครื่องโน๊ตบุคตัวที่ใช้ทำงานอยู่นี้จึงต้องทำให้กลายเป็นเซิร์ฟเวอร์ (ค่อนข้างใจร้ายกับเครื่องมากพอสมควร) การติดตั้งระบบที่จะทำให้ทุกอย่างทำงานได้ มีขั้นตอนทำอย่างนี้ (ต้องเขียนไว้เพราะลืมแล้ว ตอนนี้มาฟื้นความจำ เดี๋ยวลืมอีก)
1.ติดตั้ง Apache2 (ขั้นตอนนี้คือการทำให้เครื่องเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์)
2.ติดตั้ง php5 (เพื่อให้เครื่องใช้ภาษา phpได้)
3. ติดตั้ง MySQL Server (ทำให้เครื่องเป็นดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์)
4. ติดตั้ง MySqlAdmin (เพื่อใช้ทำงานกับฐานข้อมูลในรูปแบบคำสั่ง)
5.ติดตั้ง phpmyadmin (เพื่อใช้ในการทำงานกับฐานข้อมูลในรูปแบบกราฟิก)
ทุกอย่างสามารถติดตั้งได้โดยใช้ synaptic การติดตั้งทำได้ไม่ยุ่งยาก
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://ubuntuguide.org/wiki/Dapper
(ตรงนี้ลืมประจำต้องเซิร์สหาทุกทีเลย เขียนไว้แบบนี้คงไม่พลาดอีก)
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
สคริปต์กรอกชื่อในแฟลช
..............................................................................
ให้สร้างเฟรม 2 เฟรม เฟรมที่ 1 (หยุดไว้)
ให้เตรียมช่องเติมคำ (input)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า name)
และช่องสำหรับแสดงคำเตือน (Dynamic)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า b)
พร้อมปุ่มที่ใช้คำสั่ง ให้ไปเล่นเฟรมที่2
..............................................................................
ในเฟรมที่2เขียนเงื่อนไขที่เฟรมไว้ว่า
ถ้าช่องเติมคำ (name) ว่าง
ให้กลับไปเฟรมที่ 1
แล้วแสดงคำว่า "กรุณากรอกชื่อ" ที่ช่องตัวแปร b
ถ้าไม่เป็นตามเงื่อนไขข้างต้นให้หยุด
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
...................................................................
if(name==null)
{
gotoAndStop(1);
b="กรุณากรอกชื่อ";
}
else
{
stop();
}
...............................................................
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
สื่อคอมพิวเตอร์กับการเรียนรู้
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก ครูทุกคนสามารถทำได้ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับปูน ทุกปูน ไม่ว่าครูปูนไหนก็สร้างได้ ขอเพียงแต่ต้องอาศัย ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น โปรแกรมทุกโปรแกรมมีการสร้างให้ใช้งานง่ายอยู่แล้ว บางครั้งอาจต้องอาศัยหลายๆโปรแกรมประกอบกันบ้าง การทำงานบางอย่างก็ไม่ต้องทำแบบเรียงตามลำดับ ดังนั้นท่านต้องถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าต้องการให้สื่อมีลักษณะอย่างไร และจะทำอย่างไรได้บ้าง มีทางเลือกให้ทำได้มากมาย บางทีท่านอาจค้นพบขั้นตอน เทคนิคพิเศษด้วยตนเอง น่าตื่นเต้นตั้งแต่เริ่มทำทีเดียว
สำหรับคนที่ชอบทำตามขั้นตอนแบบเคร่งครัด อาจจะต้องปรับตัวนิดหนึ่งล่ะครับ คงต้องนอกลู่นอกทางบ้าง เอาเป้าหมายเป็นสำคัญ
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเขาใช้โปรแกรมสำเร็จรูป บางครั้งอาจใช้หลายๆโปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อสักชิ้นหนึ่ง ดังนั้นต้้องเตรียมตัวก่อนสร้าง ทั้งเรื่องเนื้อหา เตรียมทรัพยากรทุกอย่างให้พร้อม เก็บไว้ให้เป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย แล้วจึงสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรมสำหรับสร้างสื่อโดยเฉพาะเป็นขั้นตอนสุดท้าย
การนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ก็ต้องวางแผนให้ดีเหมือนกัน ต้องศึกษารูปแบบของการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดี รวมทั้งศึกษาพื้นฐานของผู้เรียนก่อนเพื่อจะได้นำสื่อไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การพัฒนาครูสร้างสื่อที่พรหมเจริญ
วันที่ 14-16 พ.ค. 2550 ได้พาครูทำสื่อที่โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ ได้สื่อ 13 ชิ้น ครบทุกคน แล้วก็เขียนเป็นแผ่น CD-ROM ไว้แล้ว พร้อมทำรายงานเป็นบันทึกการเดินทางไว้อีกฉบับ
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
Ksnapshot บน Ubuntu 6.06
การติดตั้งโปรแกรมใช้ Synaptic ครับง่ายดี ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า Ubuntu รวมทั้งลินุกส์อื่นๆ การติดตั้งโปรแกรมง่ายมาก ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นเพียงแค่ต่ออินเทอร์เน็ต ทุกอย่างก็ OK สามารถติดตั้งโปรแกรมต่างๆได้นับไม่ถ้วน ดี แถมด้วยความเสรี และ ฟรี
inkscape 0.44 บน ubuntu 6.06
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
Presario2200 กลับมาใช้ Ubuntu 6.06
และแล้วก็ต้องกลับมาใช้ Ubuntu 6.06 เหมือนเดิม เพราะเครื่อง Hp Presario2200 ที่ใช้งานอยู่ ทำงานช้า (อุปทานหรือเปล่าก็ไม่รู้)เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Ubuntu 6.06 อาจเป็นเพราะเครื่องยังไม่แรงพอ หรือเป็นเพราะว่าดันไปใช้ core2duo เมื่อกลับมาใช้ celeron เลยทำให้รู้สึกว่าช้า
วันนี้ทดลองติดตั้ง Inkscape 0.45 ปรากฏว่าไม่ได้ผล แล้วก็ดันจำไม่ได้ว่าครั้งก่อนดาวน์โหลด Inkscape 0.44 มาจากไหน วันนี้เลยต้องมาเขียนบล็อกไว้ เพื่อเตือนความจำ ถ้าวันไหนติดตั้งอีกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยที่ต้องควานหา package ที่ต้องการใช้อีก หลังจากการควานหาไปพบที่นี่ http://ubuntuforums.org/showthread.php?t=202916
แล้วตามลิงค์ในกระดานข่าวไปเว็บที่เขาให้ดาวน์โหลด
หวังว่าคงไม่พลาดอีกครั้ง
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งเขียนไว้แล้วอย่างนี้
sudo dpkg -i inkscape_0.44-1_i386.deb
สรุปการติดตั้งครั้งนี้ไม่สำเร็จขอรับ
ที่ติดตั้งครั้งก่อนสำเร็จอาจเป็นเพราะมีการอับเดดมาตลอด
ครั้งนี้จะไม่ทำการอับเดด เพราะเป็นเวอร์ชั่นเก่าแล้วต้องอับเดดเยอะ ขี้เกียจคอย
เวอร์ชั่นนี้แหล่ะ เหมาะสมกับเครื่องแล้ว
๒๔ เมษายน ๒๕๕๐
DHCP Server on Ubuntu
1. ติดตั้ง dhcp3-server
2. แก้ไขไฟล์ sudo pico /etc/dhcp3/dhcpd.conf
แก้ไขตรงนี้
subnet 192.168.100.0 netmask 255.255.255.0 {
range 192.168.100.50 192.168.100.200;
option domain-name-servers 203.155.33.1;
option domain-name "spc.ac.th";
option routers 192.168.100.1;
option broadcast-address 192.168.100.255;
default-lease-time 600;
max-lease-time 7200;
}
3. แก้ไขไฟล์ /etc/default/dhcp3-server เพื่อกำหนดการ์ดแลนให้แจก IP เครื่องลูกข่าย
โดยปกติเครื่องแม่ข่ายมักจะมี 2 ใบ ใบแรก คือ eth0 ใบที่ 2 คือ eth1
ในกรณีที่ใช้การ์ดแลนใบที่หนึ่ง (eth0) ใช้คำสั่งต่อไปนี้
sudo pico /etc/default/dhcp3-server
กำหนดค่า้ INTERFACES="eth0"
4. start การทำงานของ dhcp server ด้วยคำสั่ง
้/etc/init.d/dhcp3-server start
แล้วจะลองทำดูในวันต่อๆไป
๑๗ เมษายน ๒๕๕๐
ลอง Inkscape
StarDict-Lexitron
วันนี้ใช้เครื่องที่ติดตั้ง Ubuntu 6.10 การใช้งานก็ดีอยู่หรอก แต่ความสามารถยังสู้ Linux TLE 8 ไม่ได้ เพราะขาดความสามารถบางอย่าง ต้องเสริมเติมแต่งเอง ่อย่างเช่น Lexitron ที่เป็นดิกชันนารีสุดยอดในขณะนี้ ศน.ในที่ทำงานต่างก็ชอบใจ แต่เราเองกลับไม่มี พยายามติดตั้งโดยการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต แต่แล้วไปเจอ StarDict-Lexitron ซึ่งทำการติดตั้งได้ไม่ยากเพราะ Ubuntu มี StarDict ให้อยู่แล้วเลยสะดวกขึ้น
สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมคือต้องไปดาวน์โหลด ดาต้าเบส มาจาก http://www.mrchoke.org มาเพิ่มเติม ขั้นตอนการเพิ่มเติมทำหลังจากแตกไฟล์แล้ว โดยการเข้าไปอยู่ในแฟ้มที่แตกออกมา แล้วใช้คำสั่ง
sudo cp * /usr/share/stardict/dic
ทำทั้งสองไฟล์ ทั้ง stardict Lexitron English-Thai และ stardict Lexitron Thai-English
ทดลองใช้แล้วความรู้สึกพอใช้ได้ ความจริงอยากได้ Lexitron มากกว่า แต่แค่นี้ก็พอใจแล้ว
ได้ฤกษ์เปลี่ยนเป็น Ubuntu 6.10
วันนี้คิดอยู่นานเหมือนกัน กว่าจะตัดสินใจติดตั้ง Ubuntu 6.10 แทน Ubuntu 6.06 ที่ใช้มาซะนาน และได้ความรู้จาก Ubuntu 6.06 จะว่าไปก็ติดใจ ใช้มาจนไม่รู้ว่านานเท่าไหร่ แต่ถือว่าไม่นานนัก ด้วยความอยากได้ 3ddesk จึงตัดสินใจเปลี่ยนซะที หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วปรับแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง แล้วก็เห็นความแตกต่างตรงเข้ามาเขียนบล็อกนี่แหล่ะว่า Ubuntu 6.06 เข้ามาเป็นภาษาอังกฤษ Ubuntu 6.10 เข้ามาเป็นภาษาไทย ส่วนอื่นๆ ไม่แตกต่างกันนัก แต่ยังสู้ Linux TLE 8 ไม่ได้หลายอย่าง แต่เนืองจากไม่มีแผ่นเลยต้องใช้ Ubuntu ไปก่อน แล้วหาแผ่นได้ค่อยว่ากันอีกที
ตอนนี้มีแผ่น Ubuntu เป็นที่ระลึก 3 แบบแล้ว ทั้ง Ubuntu 6.06, Edubuntu 6.06,Kubuntu 6.10 แบบหน้าปกสวย เป็นที่ระลึก ตอนนี้อยากได้ Linux TLE แบบหน้าปกสวย ไว้เป็นที่ระลึก เมื่อไหร่เขาจะมีแจก และให้ลงทะเบียน จะได้เอาหมายเลขมาติดเครื่อง
อิอิ ...นักสะสม
๑๔ เมษายน ๒๕๕๐
เศรษฐกิจพอเพียง..คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน
วันนี้ดูทีวิช่อง MCOT1 เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เห็นภาพของการพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องทางเกษตร และการดำเนินชีวิตที่เป็นวิถีทางเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเพราะเป็นวิถีที่ใกล้ชิตกับคนไทยส่วนใหญ่
เนื่องจากเราทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา และเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง เลยต้องมามองว่า ทุกวันนี้โรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์กันมาก ถ้ามองว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นหรือไม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยหรือไม่ ที่จะต้องเรียนคอมพิวเตอร์ ตรงนี้ต้องพูดตามตรงว่า จำเป็นมาก และถือเป็นการเสริมภูมิต้านทานและสร้างความเข้มแข็งสำหรับอนาคตทีเดียว ถ้าคนในประเทศไม่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลยคงจะอยู่ได้อย่างลำบาก
ตอนนี้เรียกได้ว่าเราเองเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์รายใหญ่อยู่เหมือนกัน
แต่ในด้านซอร์ฟแวร์เราเองยังต้องพึ่งพาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไมโครซอฟต์ ที่เราจะต้องเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ของเขาปีละไม่น้อย (บางประเทศเขาอาจใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกกฏหมายบ้าง แต่ไทยเราคงน้อย จนแทบไม่มี)
นอกจากนี้ประเทศไทยเราพยายามพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด โดยเนคเทคได้พัฒนาลินุกส์ทะเล ขึ้นเพื่อให้เราได้พึ่งพาตนเองให้ได้ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกต้องในประเทศเราจึงมีน้อยมาก จนเกือบจะเรียกได้ว่าเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่มีเลยในประเทศไทย
และการใช้ลินุกส์และโอเพ็นซอร์ส ช่วยทำให้ประเทศไม่ต้องเสียเงินเกี่ยวกับการซ้อซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง นี่แหล่ะคือสิ่งที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านคอมพิวเตอร์
Inkscape
Getting and Installing Source packages
If your distro does not have some packages available (like many don't, ie, Fedora Core 2), you must often download source packages and build and install them yourself. Actually this is not that hard, and is similar to doing a Gentoo 'emerge.'
- Usually you download a file with a name like somepackage-1.0.tar.gz. Unpack it with
$ tar zxf somepackage-1.0.tar.gz
or
$ tar jxf somepackage-1.0.tar.bz2
- Then 'cd' into the new directory.
- Configure it with the command:
$ ./configure
- Build it with:
$ make
- As the 'root' user, install it with:
# make install
๑๓ เมษายน ๒๕๕๐
ปิดฟังชั่นการขึ้นหัวข้ออัตโนมัติ OO.o
OO.o ที่ติดตั้งบนวินโดวมีขั้นตอนดังนี้ คลิก Tool>>AutoCorrect
ถ้าเป็น OO.o ที่ติดตั้งบน Ubuntu มีขั้นตอนดังนี้
คลิก เครื่องมือ>>แก้ไขข้อผิดพลาดอัตโนมัติ
๑๒ เมษายน ๒๕๕๐
AddOn Firefox
เรื่องที่จะเขียนต่อตอนนี้คือ การแสดงตัวอักษรพิเษ (เป็นรูปสี่เหลี่ยม)
เลยไปติดตั้ง Addon เพิ่มเติมที่
https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/2666
การติดตั้ง Inkscape แบบ .deb
เขามีการติดตั้งง่ายกว่า ดังนี้
sudo dpkg -i inkscape_0.44-1_i386.deb
แบบนี้ง่ายกว่ากันเยอะเลย ความจริงแล้ววันนี้ inkscape รุ่น 0.45 ก็มีแล้ว
แต่รุ่น 0.44 ก็ OK นะ
๑๑ เมษายน ๒๕๕๐
มีเวลาว่างมาก..หรืองัย
คิดอะไรอยู่...วันนี้
อีกอย่างในความคิดวันนี้ คือ โปรแกรม Inkscape เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างภาพแบบเวคเตอร์ที่น่าใช้โปรแกรมหนึ่ง อยากจะทดลองใช้กับนักเรียน แต่ต้องกำหนดกิจกรรมให้ดีการสอนใช้โปรแกรมจึงจะน่าสนใจ
เฮ้อ....แต่ละวันก็คิดไปต่างๆนานา
ความว่างเปล่า
แรกที่สุดก็จะเป็นเรื่องของการสอนนักเรียนว่า น่าจะมีอะไรใหม่ๆ ให้นักเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนหน้า
ต่อมาก็คงจะเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์ ที่จะต้องมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง แน่นอนที่สุด อันดับแรกที่นำมาพิจารณาก็คือ โอเพ็นซอร์ส รองลงมาก็เป็นฟรีแวร์ ส่วนที่จะต้องซื้อ ไม่อยู่ในข้อพิจารณา
ประเด็นที่ 3 ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดก็คือ จะทำอย่างไร ครูถึงจะสนใจสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ และสอนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์
ส่วนประเด็นการที่ไม่ได้คาดหวังความสำเร็จอะไร ก็คือ การใช้ลินุกส์ อยากให้นักเรียนได้ทดลองใช้ และได้รู้จักว่า ลินุกส์ คือระบบปฏิบัติการที่ดี อยากให้นักเรียนรู้ว่า คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ เวิร์ด เอ็กเซล และเพาเวอร์พอยต์ เท่านั้น
๑ เมษายน ๒๕๕๐
โปรแกรมภาษา html
http://htmledit.squarefree.com/
เว็บนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆของเรา
เป็นเว็บที่เขียนแบบเรียลไทม์ด้วย
เว็บต่อไปนี้ มีซอฟต์แวร์สำหรับเขียนเว็บให้ดาวน์โหลด
แต่เขาไม่ให้ก๊อบปี๊แจก ต้องดาวน์โหลดกับเขา คือที่นี่
http://www.chami.com/html-kit/download/
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
Change your password on linux shell
Start : Connecting to the remote server and log in with your name and password . myserver:~$ passwd Simply follow the prompts to make the change. The passwd command can obviously not be used to recover lost passwords, only to change one you know. |
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
เปิดเว็บล๊อกให้ ศน.สมบัติ
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
โปรแกรมสร้างแบบทดสอบ
๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
Quiz Maker version 2.0
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
เสาร์-อาทิตย์นี้ที่ ศรีตระกูลวิทยา
ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เราต้องสร้างโอกาสที่ดีให้กับนักเรียนให้ได้สัมผัสกับเทคโนโลยี ในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ (ว่าตามพระราชบัญญัติเลยนะนี่) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ความสุขก็เกิดจากการได้ทำงานแบบนี้ มีความสุขกับการทำงานที่ได้พาครูสร้างสื่อที่เร้าความสนใจให้เด็กๆได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน หรือได้อยู่เป็นกำลังใจคุณครูที่ร่วมกันสร้างสื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน ถึงแม้ว่าตัวเองจะไม่เก่งก็ตาม
๓๑ มกราคม ๒๕๕๐
ภารกิจหนึ่งที่พอกพิทยาคมฯ
วันนี้พร้อมด้วยทีมงาน ปฏิบัติภารกิจที่พอกพิทยาคม กับความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งจากองค์การแพลนประเทศไทย โรงเรียนในเครือข่าย คุณครูที่ร่วมเวิร์คชอพ และทีมปฏิบัติการของเรา ทำให้งานสำเร็จไปด้วยดี คุณครูทั้งหมดสร้างสื่อได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือได้ผล 100% ว่าเข้านั่น เลยเอาภาพประทับใจของทั้งคุณครู และการดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมปฏิบัติงานมาบันทึกไว้
๓๐ มกราคม ๒๕๕๐
Addon firezilla
$sudo aptitude install gstreamer0.10-ffmpeg gstreamer0.10-gl gstreamer0.10-plugins-base \
gstreamer0.10-plugins-good gstreamer0.10-plugins-bad gstreamer0.10-plugins-bad-multiverse \
gstreamer0.10-plugins-ugly gstreamer0.10-plugins-ugly-multiverse
libxine-extracodecs w32codecs
เลยทำตามแต่ไม่ได้ใช้ขั้นตอนนี้ทั้งหมดเพราะจะทำการแปลงร่างก่อนใช้คำสั่งที่ว่านี้ ขอเป็น root ซะก่อนว่างั้น เถอะ
แต่สำหรับ firefox แล้วคิดยังงัยก็ยังจำไม่ได้ว่าติดตั้ง Addon มาจากไหน (ลืมซะแล้ว) เลยค้นจากเน็ตใหม่ อยู่ที่นี่ครับ
https://addons.mozilla.org/firefox/446/
addon ตัวนี้ใช้สำหรับเปิดเว็บที่มีไฟล์มัลติมีเดีย จะสามารถเปิดได้โดยคลิกเพียงครั้งเดียว (เขาโฆษณาว่างั้น) แต่พอเอามาใช้กลับพบว่า นอกจากจะเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้โดยการคลิกครั้งเดียวตามที่โฆษณาไว้แล้ว ยังพบว่าถ้าเว็บไหนมีไฟล์แฟลช เขาจะมีรายการให้เราคลิกด้วยว่าจะดาวน์โหลดไฟล์แฟลชนั้นมั๊ย แบบนี้เรียกว่าแถมหรือเปล่าไม่รู้ แต่ดีนะไม่ต้องหาวิธีการดาวน์โหลดแฟลช หรือดูดมาทั้งเว็บ
ubuntu บนโน๊ตบุค
ขั้นตอนการติดตั้งง่ายมากเพียงแค่พิมพ์บรรทัดเดียวดังนี้
sudo apt-get install proftpd
เขาจะเรียกเพคเกจ และถามคำถามอีกเล็กน้อยเท่านั้น เซอร์วิสจะเปิดหลังติดตั้งเสร็จ ใช้งานได้ทันที
ตอนแรกกะว่าจะใช้การ scp ด้วย ssh เลยติดตั้ง ssh ไว้ด้วยเพื่อความเท่ ขั้นตอนดังนี้
sudo apt-get install ssh
รอสักครู่ก็เสร็จ
ผลการทำงานก็ OK ทำงานได้ดี
แต่ว่า เมื่อ ftp มาที่เครื่องแล้วเปิดเว็บดู (Notebook ตัวนี้ติดตั้ง Apache ด้วยเลยเป็นเว็บเซร์ฟเวอร์) ปรากฏว่า เปิดเว็บไม่ค่อยได้ สงสัยเขาจะเหนื่อยมั๊ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๐
เทมเพลต เวอร์ชั่น 3 ออกแล้ว
๒๕ มกราคม ๒๕๕๐
เทมเพลตใหม่อีกแล้ว
พยายามทำให้ง่าย ครูซึ่งเป็นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งอะไรให้ยุ่งยาก
อยากให้แตกต่างจากพวก LMS
ที่ ต้องใช้ฐานข้อมูล ต้องทำการติดตั้ง ใช้งานแบบออฟไลน์ก็ยาก
ที่อยากให้เป็น คือ
ไม่ต้องทำการติดตั้ง ไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล
อยากให้ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
แก้ไขง่าย อะไรทำนองนี้
ตอนนี้ ก็พยายามหาส่วนประกอบต่างๆมาเพิ่ม
จะสำเร็จแค่ไหน ต้องลองดูหล่ะ
เทมเพลตรุ่นที่ 2 เชษเอาไปทดลองใช้แล้ว
รุ่นที่ 3 จะออกใหม่ เร็วๆนี้ มีกระดานข่าวที่น่าใช้ขึ้น
๒๑ มกราคม ๒๕๕๐
PDF reader
๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
ลืมคำสั่งแตกไฟล์
tar -xf ชื่อไฟล์.tar
แล้วเขายังบอกต่ออีกว่า ถ้าจะบีบอัดไฟล์ใช้คำสั่งนี้
tar -cf ชื่อไฟล์.tar
๑๗ มกราคม ๒๕๕๐
Accesslist Control
ไฟล์อยู่ที่
/usr/share/sistools/webadmin/comlist.fiw
แก้แย่างไรคงไม่ยากมั๊ง
๑๖ มกราคม ๒๕๕๐
๖ มกราคม ๒๕๕๐
ปรับเทมเพลตใหม่
๔ มกราคม ๒๕๕๐
วันนี้ที่ห้วยตามอญ
วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการทำงานที่บ้านห้วยตามอญ การพัฒนาครูสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ประเภทเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้
กิจกรรมวันนี้ ประกอบด้วยการปรับปรุงเนื้อหาของสื่อตต่อจากวันวาน และการประเมินคุณภาพเบื้องต้นของสื่อที่สร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยทำการอับโหลดสื่อขึ้นเซิร์ฟเวอร์ ให้ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินและให้คำแนะนำ
หลังจากปรับปรุงเนื้อหาแล้ว ทุกคนได้ทำคู่มือการใช้งานสื่อ สรุปผลการทำงานวันนี้ ครูสร้างสื่อได้ทั้งหมด 16 ชิ้น กิจกรรมวันต่อไปเป็นการวิจัยในชั้นเรียนและการหาประสิทธิภาพของสื่อ
กลับบ้านแวะที่ทำงาน เพลียอยากพัก ถึงโต๊ะทำงานซะที นั่งพักสักครู่แล้วค่อยเดินทางต่อ
๓ มกราคม ๒๕๕๐
พาครูสร้างสื่อที่ห้วยตามอญ
วันนี้ไปที่บ้านห้วยตามอญ พาครูสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเว็บไซต์ ด้วยเทมเพลตที่พัฒนาขึ้น กะไว้ว่าจะใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน เพียงวันแรกครูทุกคนก็สามารถสร้างสื่อต้นแบบได้แล้ว แสดงว่าวิธีการนี้เวิร์ค
วันพรุ่งนี้จะเป็นการพัฒนาให้ดีขึ้น และเริ่มกระบวนการหาประสิทธิภาพขั้นต้นโดยการพิจารณาจากคณะทำงานที่ดูแลด้านสื่อโดยเฉพาะ และวันต่อๆไปจะเริ่มกระบวนการหาประสิทธิภาพสื่อที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนการวิจัย
โต๊ะทำงาน ศน.อภิเดช
๑ มกราคม ๒๕๕๐
ปีใหม่แล้ว
ต้อนรับปีใหม่ครับ
ขอพระเจ้าประทานพรอันประเสริฐให้กับทุกท่าน
ให้ท่านประสบแต่ความสุข ตลอดปีนี้ครับ