๓๑ มกราคม ๒๕๕๐
ภารกิจหนึ่งที่พอกพิทยาคมฯ
วันนี้พร้อมด้วยทีมงาน ปฏิบัติภารกิจที่พอกพิทยาคม กับความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งจากองค์การแพลนประเทศไทย โรงเรียนในเครือข่าย คุณครูที่ร่วมเวิร์คชอพ และทีมปฏิบัติการของเรา ทำให้งานสำเร็จไปด้วยดี คุณครูทั้งหมดสร้างสื่อได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือได้ผล 100% ว่าเข้านั่น เลยเอาภาพประทับใจของทั้งคุณครู และการดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมปฏิบัติงานมาบันทึกไว้
๓๐ มกราคม ๒๕๕๐
Addon firezilla
วันนี้เห็น เครื่องครูเปิ๊ลเปิดเพลงเพราะๆ มีรูปสวยๆให้ดู ก็เลยอยากได้บ้าง กลับบ้านเลยแว๊บไปทีเว็บ่ ubuntu club เขาแนะนำไว้อย่างนี้
$sudo aptitude install gstreamer0.10-ffmpeg gstreamer0.10-gl gstreamer0.10-plugins-base \
gstreamer0.10-plugins-good gstreamer0.10-plugins-bad gstreamer0.10-plugins-bad-multiverse \
gstreamer0.10-plugins-ugly gstreamer0.10-plugins-ugly-multiverse
libxine-extracodecs w32codecs
เลยทำตามแต่ไม่ได้ใช้ขั้นตอนนี้ทั้งหมดเพราะจะทำการแปลงร่างก่อนใช้คำสั่งที่ว่านี้ ขอเป็น root ซะก่อนว่างั้น เถอะ
แต่สำหรับ firefox แล้วคิดยังงัยก็ยังจำไม่ได้ว่าติดตั้ง Addon มาจากไหน (ลืมซะแล้ว) เลยค้นจากเน็ตใหม่ อยู่ที่นี่ครับ
https://addons.mozilla.org/firefox/446/
addon ตัวนี้ใช้สำหรับเปิดเว็บที่มีไฟล์มัลติมีเดีย จะสามารถเปิดได้โดยคลิกเพียงครั้งเดียว (เขาโฆษณาว่างั้น) แต่พอเอามาใช้กลับพบว่า นอกจากจะเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้โดยการคลิกครั้งเดียวตามที่โฆษณาไว้แล้ว ยังพบว่าถ้าเว็บไหนมีไฟล์แฟลช เขาจะมีรายการให้เราคลิกด้วยว่าจะดาวน์โหลดไฟล์แฟลชนั้นมั๊ย แบบนี้เรียกว่าแถมหรือเปล่าไม่รู้ แต่ดีนะไม่ต้องหาวิธีการดาวน์โหลดแฟลช หรือดูดมาทั้งเว็บ
$sudo aptitude install gstreamer0.10-ffmpeg gstreamer0.10-gl gstreamer0.10-plugins-base \
gstreamer0.10-plugins-good gstreamer0.10-plugins-bad gstreamer0.10-plugins-bad-multiverse \
gstreamer0.10-plugins-ugly gstreamer0.10-plugins-ugly-multiverse
libxine-extracodecs w32codecs
เลยทำตามแต่ไม่ได้ใช้ขั้นตอนนี้ทั้งหมดเพราะจะทำการแปลงร่างก่อนใช้คำสั่งที่ว่านี้ ขอเป็น root ซะก่อนว่างั้น เถอะ
แต่สำหรับ firefox แล้วคิดยังงัยก็ยังจำไม่ได้ว่าติดตั้ง Addon มาจากไหน (ลืมซะแล้ว) เลยค้นจากเน็ตใหม่ อยู่ที่นี่ครับ
https://addons.mozilla.org/firefox/446/
addon ตัวนี้ใช้สำหรับเปิดเว็บที่มีไฟล์มัลติมีเดีย จะสามารถเปิดได้โดยคลิกเพียงครั้งเดียว (เขาโฆษณาว่างั้น) แต่พอเอามาใช้กลับพบว่า นอกจากจะเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้โดยการคลิกครั้งเดียวตามที่โฆษณาไว้แล้ว ยังพบว่าถ้าเว็บไหนมีไฟล์แฟลช เขาจะมีรายการให้เราคลิกด้วยว่าจะดาวน์โหลดไฟล์แฟลชนั้นมั๊ย แบบนี้เรียกว่าแถมหรือเปล่าไม่รู้ แต่ดีนะไม่ต้องหาวิธีการดาวน์โหลดแฟลช หรือดูดมาทั้งเว็บ
ubuntu บนโน๊ตบุค
วันนี้ตั้งแต่เช้าติดตั้ง ftp service บน ubuntu เพื่อนำไปใช้ทดแทนเซิร์ฟเวอร์ที่ พอกพิทยาคมฯ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ในการติดตั้งเซิร์เวอร์ที่นั่น และอีกเหตุผลหนึ่งก็เพื่อรวบรวมผลงานของคุณครูมาเผยแพร่ที่เขต เพื่อเป็นกำลังใจหนึ่งให้คุณครูที่ได้พยายามสร้างสื่อกันจนไม่ยอมกินข้าวกินน้ำ โดย ftp มาไว้ที่โน๊ตบุคตัวนี้เลย
ขั้นตอนการติดตั้งง่ายมากเพียงแค่พิมพ์บรรทัดเดียวดังนี้
sudo apt-get install proftpd
เขาจะเรียกเพคเกจ และถามคำถามอีกเล็กน้อยเท่านั้น เซอร์วิสจะเปิดหลังติดตั้งเสร็จ ใช้งานได้ทันที
ตอนแรกกะว่าจะใช้การ scp ด้วย ssh เลยติดตั้ง ssh ไว้ด้วยเพื่อความเท่ ขั้นตอนดังนี้
sudo apt-get install ssh
รอสักครู่ก็เสร็จ
ผลการทำงานก็ OK ทำงานได้ดี
แต่ว่า เมื่อ ftp มาที่เครื่องแล้วเปิดเว็บดู (Notebook ตัวนี้ติดตั้ง Apache ด้วยเลยเป็นเว็บเซร์ฟเวอร์) ปรากฏว่า เปิดเว็บไม่ค่อยได้ สงสัยเขาจะเหนื่อยมั๊ง
ขั้นตอนการติดตั้งง่ายมากเพียงแค่พิมพ์บรรทัดเดียวดังนี้
sudo apt-get install proftpd
เขาจะเรียกเพคเกจ และถามคำถามอีกเล็กน้อยเท่านั้น เซอร์วิสจะเปิดหลังติดตั้งเสร็จ ใช้งานได้ทันที
ตอนแรกกะว่าจะใช้การ scp ด้วย ssh เลยติดตั้ง ssh ไว้ด้วยเพื่อความเท่ ขั้นตอนดังนี้
sudo apt-get install ssh
รอสักครู่ก็เสร็จ
ผลการทำงานก็ OK ทำงานได้ดี
แต่ว่า เมื่อ ftp มาที่เครื่องแล้วเปิดเว็บดู (Notebook ตัวนี้ติดตั้ง Apache ด้วยเลยเป็นเว็บเซร์ฟเวอร์) ปรากฏว่า เปิดเว็บไม่ค่อยได้ สงสัยเขาจะเหนื่อยมั๊ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๐
เทมเพลต เวอร์ชั่น 3 ออกแล้ว
วันนี้ทำการแก้โค๊ตกระดานข่าวสำหรับเทมเพลตเว็บเวอร์ชั่น 3 เรียบร้อยแล้ว ไม่ได้แก้ไขทั้งหมดหรอก ด้วยเหตุว่า บางส่วนก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไข ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นภาษาอังกฤษ ผู้ใช้งานที่เป็นมือใหม่จะได้ไม่ต้องเข้าไปปรับเปลี่ยน หรือตั้งค่าใหม่ (ว่าเข้านั่น ที่แท้ก็ขี้เกียจ หรือทำไม่เป็นมากกว่า) แต่อย่างไรก็ตามปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อนำไปทดลองใช้ เกือบทำให้หน้าแตกซะแล้ว ถ้าเอาไปใช้จริงโดยไม่ทดลองซะก่อน เหตุการณ์เป็นอย่างนี้ การทดลองบนลินุกซ์ (Ubuntu linux) ที่ติดตั้ง Apache2 ไม่มีปัญหาอะไร จึงลองเอาไปใช้งานกับวินโดว ผลออกมาทำให้หน้าแตกเป็นเสี่ยงๆ อ่านไม่ออกเลย เพราะอะไรหรือ ก็เพราะการ encode นะซิครับ จะให้มีการแสดงผลที่ถูกต้องก็ต้องปรับการ encode เป็น utf8 ไมโครซอฟต์เขาก็ไม่ยอมใช้ utf8 ซะด้วยซิ จึงต้องปรับการ encode เป็น utf8 ทุกหน้าจึงจะดูรู้เรื่อง เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต้องทำการแก้ไขโค๊ตอีกรอบ ไฟล์ที่ทำการแก้ไขทั้งหมดตอนแรก 19 ไฟล์ แก้ใหม่รอบ 2 ก็ตัวเดิมนั่นแหล่ะ 19 ไฟล์ ทีนี้แสดงผลได้ถูกต้องบนวินโดว์แล้ว ปรากฏว่าตอนนี้เทมเพลตเวอร์ชั่น 3 มีอยู่ 2 แบบ คือ ที่ encode แบบ uft8 และ tis620 เวอร์ชั่นต่อไปอยากจะเพิ่มส่วนของการทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนที่มีความเป็นเงื่อนไขต่อกัน คือ ถ้าไม่ทดสอบก่อนเรียนก็ไม่สามารถทำข้อสอบหลังเรียนได้ หรือไม่ก็ติดตั้งระบบสมาชิก ระบบการเก็บข้อมูล แต่ทุกอย่างต้องไม่มีระบบการติดตั้ง...เอ.. ไม่รู้จะทำเป็นหรือเปล่า..น้อ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๐
เทมเพลตใหม่อีกแล้ว
เหมือนกับทุกๆวันที่พยายามพัฒนาเทมเพลตให้มีความสามารถสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
พยายามทำให้ง่าย ครูซึ่งเป็นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งอะไรให้ยุ่งยาก
อยากให้แตกต่างจากพวก LMS
ที่ ต้องใช้ฐานข้อมูล ต้องทำการติดตั้ง ใช้งานแบบออฟไลน์ก็ยาก
ที่อยากให้เป็น คือ
ไม่ต้องทำการติดตั้ง ไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล
อยากให้ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
แก้ไขง่าย อะไรทำนองนี้
ตอนนี้ ก็พยายามหาส่วนประกอบต่างๆมาเพิ่ม
จะสำเร็จแค่ไหน ต้องลองดูหล่ะ
เทมเพลตรุ่นที่ 2 เชษเอาไปทดลองใช้แล้ว
รุ่นที่ 3 จะออกใหม่ เร็วๆนี้ มีกระดานข่าวที่น่าใช้ขึ้น
พยายามทำให้ง่าย ครูซึ่งเป็นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งอะไรให้ยุ่งยาก
อยากให้แตกต่างจากพวก LMS
ที่ ต้องใช้ฐานข้อมูล ต้องทำการติดตั้ง ใช้งานแบบออฟไลน์ก็ยาก
ที่อยากให้เป็น คือ
ไม่ต้องทำการติดตั้ง ไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล
อยากให้ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
แก้ไขง่าย อะไรทำนองนี้
ตอนนี้ ก็พยายามหาส่วนประกอบต่างๆมาเพิ่ม
จะสำเร็จแค่ไหน ต้องลองดูหล่ะ
เทมเพลตรุ่นที่ 2 เชษเอาไปทดลองใช้แล้ว
รุ่นที่ 3 จะออกใหม่ เร็วๆนี้ มีกระดานข่าวที่น่าใช้ขึ้น
๒๑ มกราคม ๒๕๕๐
PDF reader
วันนี้ติดตั้ง pdf reader ด้วย synaptic ติดตั้งโดยไม่ได้ดูว่ามี acrobat reader หรือไม่ เลยเลือก xpdf ก่อนเป็นอันดับแรก ติดตั้งเรียบร้อยแล้วมาดูว่ามี acroread มั๊ย อ้าวมีนี่นา เลยติดตั้ง acroread เข้าไปอีกตัว เป็น acroread version 7 ติดตั้งเรียบร้อยแล้วมาเรียกใช้ เออใช้ได้ แต่ตอนเรียกใช้บนเน็ตนี่ซิ ไม่รู้ติดตั้ง package แล้วเขาไปเก็บไว้ไหน เลยไปดูที่ ubuntu อ้าวมีนี่นา เขาเก็บไว้ที่ /usr/bin เลือกเอาที่นี่ เรียร้อยไปอีกเปลาะ แต่ยังมีปัญหาที่ไม่อยากดาวน์โหลดมาอ่านอยากอ่านแบบออนไลน์ ไม่รู้ทำงัย
๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
ลืมคำสั่งแตกไฟล์
วันนี้คนแก่ลืมคำสั่งที่ใช้แตกไฟล์อีกแล้ว เลยต้องเปิดตำราเขาเขียนไว้อย่างนี้
tar -xf ชื่อไฟล์.tar
แล้วเขายังบอกต่ออีกว่า ถ้าจะบีบอัดไฟล์ใช้คำสั่งนี้
tar -cf ชื่อไฟล์.tar
tar -xf ชื่อไฟล์.tar
แล้วเขายังบอกต่ออีกว่า ถ้าจะบีบอัดไฟล์ใช้คำสั่งนี้
tar -cf ชื่อไฟล์.tar
๑๗ มกราคม ๒๕๕๐
Accesslist Control
Accesslist control เคยเขียนใส่กระดาษไว้อย่างดี แต่แล้วก็หลุดหายไปไหนก็ไม่รู้ วันวานไปเจอเข้า วันนี้เลยเขียนไว้ที่นี่เวลาจะใช้งานจะได้ไม่ต้องหา
ไฟล์อยู่ที่
/usr/share/sistools/webadmin/comlist.fiw
แก้แย่างไรคงไม่ยากมั๊ง
ไฟล์อยู่ที่
/usr/share/sistools/webadmin/comlist.fiw
แก้แย่างไรคงไม่ยากมั๊ง
๑๖ มกราคม ๒๕๕๐
๖ มกราคม ๒๕๕๐
ปรับเทมเพลตใหม่
วันนี้สร้างส่วนประกอบของเทมเพลตสื่อบทเรียนบนเว็บใหม่ ให้นักเรียนสามารถถามข้อข้องใจได้ ทำแบบง่ายๆ ไม่อยากใช้แบบกระดานข่าว ไม่ต้องติดตั้งระบบหรือทำการ config อะไรให้ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล ยังไม่ได้เผยแพร่ หลังจากกลับจากเชียงใหม่จะเริ่มเผยแพร่ เทมเพลตชุดนี้
๔ มกราคม ๒๕๕๐
วันนี้ที่ห้วยตามอญ
วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการทำงานที่บ้านห้วยตามอญ การพัฒนาครูสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ประเภทเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้
กิจกรรมวันนี้ ประกอบด้วยการปรับปรุงเนื้อหาของสื่อตต่อจากวันวาน และการประเมินคุณภาพเบื้องต้นของสื่อที่สร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยทำการอับโหลดสื่อขึ้นเซิร์ฟเวอร์ ให้ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินและให้คำแนะนำ
หลังจากปรับปรุงเนื้อหาแล้ว ทุกคนได้ทำคู่มือการใช้งานสื่อ สรุปผลการทำงานวันนี้ ครูสร้างสื่อได้ทั้งหมด 16 ชิ้น กิจกรรมวันต่อไปเป็นการวิจัยในชั้นเรียนและการหาประสิทธิภาพของสื่อ
กลับบ้านแวะที่ทำงาน เพลียอยากพัก ถึงโต๊ะทำงานซะที นั่งพักสักครู่แล้วค่อยเดินทางต่อ
๓ มกราคม ๒๕๕๐
พาครูสร้างสื่อที่ห้วยตามอญ
วันนี้ไปที่บ้านห้วยตามอญ พาครูสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเว็บไซต์ ด้วยเทมเพลตที่พัฒนาขึ้น กะไว้ว่าจะใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน เพียงวันแรกครูทุกคนก็สามารถสร้างสื่อต้นแบบได้แล้ว แสดงว่าวิธีการนี้เวิร์ค
วันพรุ่งนี้จะเป็นการพัฒนาให้ดีขึ้น และเริ่มกระบวนการหาประสิทธิภาพขั้นต้นโดยการพิจารณาจากคณะทำงานที่ดูแลด้านสื่อโดยเฉพาะ และวันต่อๆไปจะเริ่มกระบวนการหาประสิทธิภาพสื่อที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนการวิจัย
โต๊ะทำงาน ศน.อภิเดช
๑ มกราคม ๒๕๕๐
ปีใหม่แล้ว
ปีใหม่แล้ว ต้องเขียนต้อนรับปีใหม่ซะหน่อย
ต้อนรับปีใหม่ครับ
ขอพระเจ้าประทานพรอันประเสริฐให้กับทุกท่าน
ให้ท่านประสบแต่ความสุข ตลอดปีนี้ครับ
ต้อนรับปีใหม่ครับ
ขอพระเจ้าประทานพรอันประเสริฐให้กับทุกท่าน
ให้ท่านประสบแต่ความสุข ตลอดปีนี้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)