๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

ฉากพร้อม ไฟพร้อม กล้องพร้อม แอคชั่น

ดูรายการ กบนอกกะลา รายการโปรด รายการหนึ่งที่มักไม่พลาดการดู
รายการดีๆอย่างนี้หายาก เลยเกิดแนวคิดใหม่อีกแล้ว คือ
พาครูจัดการเรียนโดยแทรกกิจกรรมการสร้างหนังสั้นเข้าไปด้วย
แหม สนุกออก ผู้เรียนได้ความรู้ ได้ความสนุกสนาน ได้สร้างสรรค์ ได้ทำงานเป็นทีม ได้วางแผนงาน
ก็ยังมีอีกแนวหนึ่งคือ เอนิเมชั่น ที่เคยพาทำบ้างแล้ว แต่ยังไม่สะใจ มันต้องสามมิติ
คิดถึงงานเอนิเมชั่นแบบที่กำลังฮิตและทำเงินแบบเป็นกอบเป็นกำ ถ้านักเรียนทำได้ นี่สิถึงจะเรียกได้ว่าสุดยอด
วันนี้เลยติดตั้ง Blender เผื่อว่าทำเป็นจะพาครูจัดสอนในโรงเรียนซะเลย (เด็กเขาเก่ง และมีอะไรให้เราประหลาดใจเสมอ)
การติดตั้งง่ายม๊ากก๊าก แค่ พิมพ์คำสั่งไม่กี่คำ
sudo apt-get install blender
คอยไม่ถึง 2 นาที ก็เรียบร้อย

เมื่อ ฉากพร้อม ไฟพร้อม กล้องพร้อม ต้องเริ่มหัดใช้ Blender ซะแล้วซิ (ยังใช้ไม่เป็น อิอิ)

๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

GNUmericกับวิจัยในชั้นเรียน

วันนี้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะเขียนเรื่องการใช้ GNUmericกับการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งสถิติที่ใช้เป็นแบบง่ายๆ เช่น ใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)เป็นต้น ส่วนเรื่องการทดสอบค่าที (T-test)เขียนไว้แล้ว
เริ่มจากเปิดโปรแกรม GNUmeric แล้วกรอกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
เลือกชุดข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ โดยการคลุมเลือกช่องตาราง

เริ่มการวิเคราะห์ข้อมูล คลิกตามลำดับนี้
Tools>Statistical Analysis>Descriptive Statistic.. ตามรูปต่อไปนี้

หลังคลิกจะมีหน้าต่างให้กรอกข้อมูล หรือเลือกชุดข้อมูล แต่เราเลือกชุดข้อมูลแล้วตั้งแต่ต้น
ขั้นตอนนี้จึงแค่ ติ๊กที่ช่อง Labels ก็พอ แล้วคลิกตกลงเลย

หลังจากคลิกตกลงไม่ต้องรอเพราะโปรแกรมเขาคิดเร็วจริงๆ
ผลออกมายังงี้เลย

โปรแกรมแบบโอเพนซอร์ส ใช้แล้วติดใจไม่ต้องหาโปรแกรมอื่นๆให้ยากเลย
และที่ดีที่สุดคือ ชอบใจก็แจกได้ให้คนอื่นได้ใช้งานโปรแกรมดีๆ ถ้าแก้ไขเป็นและได้โปรแกรมที่ดีขึ้นก็แจกให้เพื่อนๆได้ใช้ด้วย เหมือนกับใครทำอาหารอร่อยแล้วแจกสูตรให้เพื่อนบ้านได้มีความสุขกับรสอาหารนั้นๆด้วยกัน สังคมนี้เสรีและมีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

GNUmeric บน Ubuntu

ติดตั้ง GNUmeric หลายวันแล้วโดยใช้ Synaptic ติดใจ GNUmeric มาตั้งแต่ติดตั้งอยู่บนลินุกซ์ทะเล 4.1a วันนี้ได้ทดลองใช้ GNUmeric อีกครั้งด้วยความรู้สึกที่ดีขึ้น คิดถึงคุณครูที่หลายๆคนยังใช้วินโดวอยู่แต่ยังกล้าๆกลัวๆกับการมาใช้ลินุกซ์ เพราะกังวลใจอยู่หลายเรื่อง วันนี้เลยเอาโปรแกรม GNUmeric มาเขียนเล่นๆพอสังเขปว่าโปรแกรมนี้ใช้ในงานวิจัยในชั้นเรียนได้ เช่น ใช้ในการยืนยันความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง ด้วยการทดสอบค่า ที (T-Test) ด้วยขั้นตอนง่ายๆ

เปิดโปรแกรม GNUmeric

กรอกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

คลิก Tools>statistic Analysis>Two Means>Pair Sample :T-Test..
เลือกข้อมูลคะแนนก่อนเรียนลงบนช่องบนโดยแดรกข้อมูลชุดก่อนเรียน
เลือกคะแนนหลังเรียนโดยแดรกชุดข้อมูลหลังเรียนในช่องล่าง
ข้อมูลตัวอย่างมีการเลเบล(เขียนหัวช่องเก็บข้อมูล) ก็ติ๊กช่องเลเบลด้วย

แล้วคลิกปุ่ม ตกลง ผลการวิเคราะห์จะออกมาทันทีทันใดเลย

เป็นอันว่า ใช้ได้ดีเหมือนเดิมเลย แล้วเดี๋ยวคอยใช้บนทะเล 8 อีกที
วันนี้เขียนคู่มือ NVU และ The GIMP เสร็จพอดี
เอาแบบง่ายๆ ให้คุณครูเขาใช้ พร้อมกับจะแจก Opensource ไปด้วย
ถึงแม้จะเป็นแบบง่ายๆ แต่ก็มีความสุขนะที่เขียนได้สำเร็จซะที
นี่หล่ะนะ ความสุขหาได้ทุกที่จริงๆ

๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

ลงทะเบียนผู้ใช้ Ubuntu

วันนี้ไปลงทะเบียนที่ http://ubuntucounter.geekosophical.net ในฐานะผู้ใช้ Ubuntu แล้วได้หมายเลขประจำตัว # 9682 แล้วเขาก็ให้ตรามา 3 ตราเป็นเครื่องหมายประจำตัวไว้แปะตามที่ต่างๆ วันนี้เลยเอามาแปะไว้ที่นี่ก่อน

The Ubuntu Counter Project - user number # 9682

The Ubuntu Counter Project - user number # 9682

The Ubuntu Counter Project - user number # 9682

ตอนนี้กำลังใจจดใจจ่อรอคอยลินุกส์ทะเล 8 อยู่ ถ้าเขาเปิดตัวเมื่อไหร่จะรีบทดลองใช้ตอนนี้ก็ใช้ Ubuntu 6.06 รอไปก่อน ถ้าเขามีหมายเลขบอกแบบนี้ก็แจ๋ว จะติดไว้ที่คอมฯทุกตัวเลย

๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

การใช้โปรแกรมGIMP

GIMP เป็นโปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพใช้งานได้ดี
ติดตั้งมาพร้อมกับ Ubuntu linux
เปิดโปรแกรมเหมือนกับโปรแกรมอื่นๆ

หลังเปิดโปรแกรมแล้วมีหน้าต่างแสดงออกมา 2 หน้าต่าง สามารถย้ายที่ได้ตามต้องการอยากวางไว้ตรงไหนก็ได้



จะสร้างชิ้นงานแค่คลิก file >new แล้วหน้าต่างกำหนดขนาดชิ้นงานก็แสดงออกมาให้เห็น

แล้วสามารถวางพื้นหลังพิมพ์ตัวหนังสือ (ดีจริงๆ พยัญชนะ สระก็ไม่ลอย)

ย้ายชิ้นส่วนแต่ละชั้นง่ายๆ วันหลังจะเขียนวิธีใช้แบบเต็มๆ
ไว้เป็นรางวัลให้กับชีวิตซะหน่อย

๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

เขียนเว็บด้วยNVU

NVU อ่านว่า เอ็นวิว เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนเว็บที่ใช้งานง่าย
หน้าตาดีมากๆ การติดตั้งก็ไม่ยาก ติดตั้งจากเน็ตเลย
การติดตั้งทำได้ทั้งโดยการใช้ synaptic และแบบ apt-get
การติดตั้งโดยใช้ synaptic
เลือก nvu

หลัง apply แล้วรออีกไม่นานก็เสร็จเรียบร้อย
แบบ apt-get
ง่ายที่สุด เพียงแค่พิมพ์ คำสั่งบรรทัดเดียว
sudo apt-get install nvu
โปรแกรมจะถามแค่พาสเวิร์ดสำหรับการ sudo เท่านั้น
รอสักครู่หลังจากการติดตั้งจบลงก็ใช้งานได้ทันที
หน้าตาโปรแกรมสวยงามจริงๆ


เยี่ยมจริงๆ ติดใจแล้ว จริงๆ ต้องศึกษาอีก
เพราะทำเว็บแบบแบ่งเฟรมยังไม่เป็น

วันเริ่มต้น

เริ่มต้นกับเว็บ Blogger วันที่ 12 พ.ย. 2549
ตั้งความหวังไว้ว่าจะใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บบันทึกประสบการณ์
และความทรงจำที่ดีๆ

การติดตั้งโปรแกรมเขียนCD

วันวานไปขอแผ่น ubuntu 6.10 ที่บ้านครูเปิ๊ลเห็นเขามีโปรแกรมเขียนแผ่น CD สวยๆบน ubuntu เลยอยากได้แต่ด้วยความที่จำชื่อโปรแกรม (Package) ไม่ค่อยได้เลยต้องสืบค้นหาชื่ออยู่เป็นนานสองนาน จำไม่ได้ว่าเป็น k3d หรือ k3b ถ้าไม่เขียนไว้คงจะลืมอีก ที่แท้คือ k3b (k3d เป็นโปรแกรมทำนองเดียวกันกับ blender มีโอกาสจะลองใช้ดู)
ขั้นตอนการติดตั้งทำได้ทั้งแบบ apt-get และSynaptic
การติดตั้งโดยใช้ synaptic
ขั้นแรกเปิด Synaptic แล้ว mark ที่ตำแหน่งของ k3b

หลังจากทำการ apply จะปรากฏกล่องข้อความอย่างนี้

ต่อจากนั้นก็คลิกเริมใช้ กระบวนการติดตั้งก็จะเริ่มขึ้น ใช้เวลาไม่นาน

เสร็จแล้วการติดตั้ง ปิดหน้าต่างนี้แล้วเริ่มใช้งานได้ หน้าตาของโปรแกรมสวยดี สมกับที่อยากได้เลย

การติดตั้งแบบ apt-get
แบบนี้ง่ายมากๆ เพียงแค่เปิดเทอร์มินอล แล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้
apt-get install k2b
แล้วรอแป๊บเดียวเท่านั้น

๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

การอับเกรดubuntu6.06เป็น6.10

การอับเกรดubuntu 6.06LTS (dapper) เป็น 6.10 (edgy)
มีขั้นตอนการทำงาน 2 รูปแบบ คือ แบบกราฟิก และ apt-get
1. แบบกราฟิก (GUI)
เปิดเทอร์มินอลแล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้
gksu “update-manager -c ”
แล้วจะพบหน้าต่างสำหรับกรอกพาสเวิร์ดผู้มีสิทธิ์ sudo เมื่อเติมพาสเวิร์ดแล้ว ก็สามารถปรับปรุงระบบได้
ขั้นตอนต่อจากนั้นหยุดกลางคันไม่ได้ ต้องเตรียมใจให้ดีก่อนทำงาน
2. แบบที่สองเป็นแบบ apt-get (ขั้นตอนต่อไปนี้ลอกเขามาทั้งดุ้น)
Using apt-get

Edit your /etc/apt/sources.list as root. Change every occurrence of dapper to edgy.
Use any prefered editor. If you have a CD-ROM line in your file, then remove it.
sudo vi /etc/apt/sources.list
or
use the following Simple command
sudo sed -e ’s/\sdapper/ edgy/g’ -i /etc/apt/sources.list
Now you need to update the source list using the following command
sudo apt-get update
Upgrade using the following command
sudo apt-get dist-upgrade
Double check your process was finished properly using the following commd
sudo apt-get -f install
sudo dpkg --configure -a
Now you need to Reboot your machine to take your new ubuntu 6.10 installation to effect all changes.
I hope you will enjoy your new Ubuntu Edgy Eft

ถ้าอยากรู้ว่าตอนนี้ใช้ ubuntu เวอร์ชั่นใดอยู่ใช้คำสั่งต่อไปนี้ครับ
lsb_release -a
คำตอบที่ได้จะเป็นทำนองนี้
Distributor ID: Ubuntu
Description: Ubuntu edgy
Release: 6.10
Codename: edgy

การปรับขนาดของภาพด้วยgThumb

วันนี้มีคำถามในใจอยู่ว่าเมื่อจับภาพหน้าจอได้แล้วภาพที่ได้มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จำเป็นจะต้องใช้แล้วจะปรับขนาดให้เล็กลงได้อย่างไร (ขนาดที่ว่านี้คือขนาดของไฟล์และขนาดของภาพที่มีสัดส่วนแปรผันไปด้วยกัน) พอดีครูเปิ๊ลดาวน์โหลด ubuntu 6.10 ได้สำเร็จเลยต้องไปชื่นชมหน่อยแล้วได้ทดลองใช้เห็นว่ามีเพคเกจต่างๆเพิ่มมากขึ้น คงถึงคราวต้องเปลี่ยนเป็น 6.10 บ้างแล้ว คำถามที่ยังติดอยู่ในใจคือปรับขนาดภาพทำอย่างไร ทุกครั้งที่จะดูภาพมักจะดับเบิลคลิกที่ภาพจึงไม่เห็นเมนูของการปรับขนาดภาพ จึงต้องเปลี่ยนนิสัยการเปิดภาพโดยใช้วิธีการเปิดภาพโดยใช้โปรแกรม gThumb (อาจใช้วิธีการคลิกขวาก็ได้)แล้วจะพบหน้าต่างต่อไปนี้

ที่แถบคำสั่งจะพบเมนู รูปภาพ คลิกที่นี่เมนูจะคลี่ออกมาดังภาพ

เมื่อคลิกที่แถบคำสั่ง ปรับขนาด จะพบกล่องโต้ตอบ ให้เราแก้ไขขนาดได้ตามต้องการ ดังภาพต่อไปนี้

..ปล่อยให้เป็นเส้นผมบังภูเขาอยู่ซะนาน
เกือบถามบนเว็บบอร์ดแล้วเชียว

โปรแกรมจับภาพหน้าจอ

โปรแกรมจับภาพหน้าจอบน ubuntu เดิมใช้การจับภาพหน้าจอที่มีมาพร้อมกับ ubuntu 6.06 LTS วันนี้ไปโพสต์คำถามไว้ที่ www.ubuntuclub.com เพราะอยากได้ package สำหรับการจับภาพบนหน้าจอเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการ สมาชิกที่ ubuntuclub (rooney) แนะนำวิธีการติดตั้ง packageที่มีชื่อว่า ksnapshot โดยวิธีการ apt-get ด้วยคำสั่งดังนี้
#apt-get install ksnapshot
ใช้เวลาในการ get พอสมควร เมื่อการติดตั้งสำเร็จทุกอย่างก็พร้อมสำหรับการทำงาน เมื่อทดลองใช้ ksnapshot แล้วพบว่าใช้งานได้ดี เลยใช้ทั้งสองโปรแกรมประกอบกัน

บ้านในวันนี้


บ้านในวันนี้มีต้นไม้เพิ่มขึ้น
มีต้นไม้เยอะๆ บ้านจะเย็นขึ้น
เดือนเมษาปกติอากาศจะร้อน
ปีนี้จะมีร่มเพิ่มขึ้น
ปีหน้า ป่ารอบบ้านจะมีมากขึ้น
บ้านเราจะเย็น ในรูปมีแดงกับนุ่น แคร์เป็นคนถ่ายรูปให้เลยไม่เห็นในรูป

การftpผ่านport21บนsis5.0

การ ftp ผ่านพอร์ต 21 ขั้นตอนมีดังนี้
1. เพิ่มพอร์ต 21
2. แก้ไขไฟล์ /etc/sysconfig/iptables-config
บรรทัดที่แก้ไข
IPTABLES_MODULES=""
แก้เป็น
IPTABLES_MODULES="ip_nat_ftp"