อาทิตย์ก่อนไปอบรมที่บางกอก ตอนอาบน้ำคิดได้ว่าการทำบล็อกแบบง่ายๆอาจจะใช้ความสามารถของกระดานข่าวมาทำได้ อีกอย่างมีสมาชิกที่เว็บเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้ ICT ที่เว็บเลยคิดว่าน่าจะทดลองปรับประยุกต์เว็บบอร์ดนำมาทำกิจกรรมการเรียนการสอนบ้าง
วันนี้เลยดาวน์โหลดเว็บบอร์ดมาทดลองแก้ไขดู แต่จะทดลองเซิร์ฟเวอร์ที่ดูแลอยู่คงจะวุ่นวาย
จึงทดลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวที่ใช้งานประจำดีกว่า (ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu 6.06)
เว็บบอร์ดจะทำงานได้ก็เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ดังนั้นเครื่องโน๊ตบุคตัวที่ใช้ทำงานอยู่นี้จึงต้องทำให้กลายเป็นเซิร์ฟเวอร์ (ค่อนข้างใจร้ายกับเครื่องมากพอสมควร) การติดตั้งระบบที่จะทำให้ทุกอย่างทำงานได้ มีขั้นตอนทำอย่างนี้ (ต้องเขียนไว้เพราะลืมแล้ว ตอนนี้มาฟื้นความจำ เดี๋ยวลืมอีก)
1.ติดตั้ง Apache2 (ขั้นตอนนี้คือการทำให้เครื่องเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์)
2.ติดตั้ง php5 (เพื่อให้เครื่องใช้ภาษา phpได้)
3. ติดตั้ง MySQL Server (ทำให้เครื่องเป็นดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์)
4. ติดตั้ง MySqlAdmin (เพื่อใช้ทำงานกับฐานข้อมูลในรูปแบบคำสั่ง)
5.ติดตั้ง phpmyadmin (เพื่อใช้ในการทำงานกับฐานข้อมูลในรูปแบบกราฟิก)
ทุกอย่างสามารถติดตั้งได้โดยใช้ synaptic การติดตั้งทำได้ไม่ยุ่งยาก
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://ubuntuguide.org/wiki/Dapper
(ตรงนี้ลืมประจำต้องเซิร์สหาทุกทีเลย เขียนไว้แบบนี้คงไม่พลาดอีก)
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
สคริปต์กรอกชื่อในแฟลช
เมื่อวานน้องปุ๊กมาสำนักงานฯและให้การบ้านไว้ วันนี้เลยทดลองทำการบ้าน ซึ่งกำหนดไว้ว่าให้หน้าแรกมีการกรอกชื่อ ถ้าไม่กรอกชื่อจะมีคำเตือนให้กรอกชื่อ ถ้ากรอกชื่อก็แล้วไป ผลการทดลองทำแบบนี้ (ต้องเขียนไว้เดี๋ยววันหลังจะลืมอีก)
..............................................................................
ให้สร้างเฟรม 2 เฟรม เฟรมที่ 1 (หยุดไว้)
ให้เตรียมช่องเติมคำ (input)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า name)
และช่องสำหรับแสดงคำเตือน (Dynamic)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า b)
พร้อมปุ่มที่ใช้คำสั่ง ให้ไปเล่นเฟรมที่2
..............................................................................
ในเฟรมที่2เขียนเงื่อนไขที่เฟรมไว้ว่า
ถ้าช่องเติมคำ (name) ว่าง
ให้กลับไปเฟรมที่ 1
แล้วแสดงคำว่า "กรุณากรอกชื่อ" ที่ช่องตัวแปร b
ถ้าไม่เป็นตามเงื่อนไขข้างต้นให้หยุด
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
...................................................................
if(name==null)
{
gotoAndStop(1);
b="กรุณากรอกชื่อ";
}
else
{
stop();
}
...............................................................
..............................................................................
ให้สร้างเฟรม 2 เฟรม เฟรมที่ 1 (หยุดไว้)
ให้เตรียมช่องเติมคำ (input)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า name)
และช่องสำหรับแสดงคำเตือน (Dynamic)(ในที่นี้ใช้ชื่อตัวแปรว่า b)
พร้อมปุ่มที่ใช้คำสั่ง ให้ไปเล่นเฟรมที่2
..............................................................................
ในเฟรมที่2เขียนเงื่อนไขที่เฟรมไว้ว่า
ถ้าช่องเติมคำ (name) ว่าง
ให้กลับไปเฟรมที่ 1
แล้วแสดงคำว่า "กรุณากรอกชื่อ" ที่ช่องตัวแปร b
ถ้าไม่เป็นตามเงื่อนไขข้างต้นให้หยุด
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
...................................................................
if(name==null)
{
gotoAndStop(1);
b="กรุณากรอกชื่อ";
}
else
{
stop();
}
...............................................................
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
สื่อคอมพิวเตอร์กับการเรียนรู้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวไกล น่าตื่นเต้น น่าสนใจ สื่อคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความน่าสนใจสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเนื้อหาได้ดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น สื่อคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความทันสมัยในยุคโลกาภิวัฒน์นี้
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก ครูทุกคนสามารถทำได้ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับปูน ทุกปูน ไม่ว่าครูปูนไหนก็สร้างได้ ขอเพียงแต่ต้องอาศัย ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น โปรแกรมทุกโปรแกรมมีการสร้างให้ใช้งานง่ายอยู่แล้ว บางครั้งอาจต้องอาศัยหลายๆโปรแกรมประกอบกันบ้าง การทำงานบางอย่างก็ไม่ต้องทำแบบเรียงตามลำดับ ดังนั้นท่านต้องถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าต้องการให้สื่อมีลักษณะอย่างไร และจะทำอย่างไรได้บ้าง มีทางเลือกให้ทำได้มากมาย บางทีท่านอาจค้นพบขั้นตอน เทคนิคพิเศษด้วยตนเอง น่าตื่นเต้นตั้งแต่เริ่มทำทีเดียว
สำหรับคนที่ชอบทำตามขั้นตอนแบบเคร่งครัด อาจจะต้องปรับตัวนิดหนึ่งล่ะครับ คงต้องนอกลู่นอกทางบ้าง เอาเป้าหมายเป็นสำคัญ
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเขาใช้โปรแกรมสำเร็จรูป บางครั้งอาจใช้หลายๆโปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อสักชิ้นหนึ่ง ดังนั้นต้้องเตรียมตัวก่อนสร้าง ทั้งเรื่องเนื้อหา เตรียมทรัพยากรทุกอย่างให้พร้อม เก็บไว้ให้เป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย แล้วจึงสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรมสำหรับสร้างสื่อโดยเฉพาะเป็นขั้นตอนสุดท้าย
การนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ก็ต้องวางแผนให้ดีเหมือนกัน ต้องศึกษารูปแบบของการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดี รวมทั้งศึกษาพื้นฐานของผู้เรียนก่อนเพื่อจะได้นำสื่อไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก ครูทุกคนสามารถทำได้ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับปูน ทุกปูน ไม่ว่าครูปูนไหนก็สร้างได้ ขอเพียงแต่ต้องอาศัย ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น โปรแกรมทุกโปรแกรมมีการสร้างให้ใช้งานง่ายอยู่แล้ว บางครั้งอาจต้องอาศัยหลายๆโปรแกรมประกอบกันบ้าง การทำงานบางอย่างก็ไม่ต้องทำแบบเรียงตามลำดับ ดังนั้นท่านต้องถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าต้องการให้สื่อมีลักษณะอย่างไร และจะทำอย่างไรได้บ้าง มีทางเลือกให้ทำได้มากมาย บางทีท่านอาจค้นพบขั้นตอน เทคนิคพิเศษด้วยตนเอง น่าตื่นเต้นตั้งแต่เริ่มทำทีเดียว
สำหรับคนที่ชอบทำตามขั้นตอนแบบเคร่งครัด อาจจะต้องปรับตัวนิดหนึ่งล่ะครับ คงต้องนอกลู่นอกทางบ้าง เอาเป้าหมายเป็นสำคัญ
การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเขาใช้โปรแกรมสำเร็จรูป บางครั้งอาจใช้หลายๆโปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อสักชิ้นหนึ่ง ดังนั้นต้้องเตรียมตัวก่อนสร้าง ทั้งเรื่องเนื้อหา เตรียมทรัพยากรทุกอย่างให้พร้อม เก็บไว้ให้เป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย แล้วจึงสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรมสำหรับสร้างสื่อโดยเฉพาะเป็นขั้นตอนสุดท้าย
การนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ก็ต้องวางแผนให้ดีเหมือนกัน ต้องศึกษารูปแบบของการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดี รวมทั้งศึกษาพื้นฐานของผู้เรียนก่อนเพื่อจะได้นำสื่อไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การพัฒนาครูสร้างสื่อที่พรหมเจริญ
วันนี้นั่งทบทวนว่าเคยไปพาครูทำสื่อที่ไหนบ้างวันที่เท่าไหร่ นั่งตั้งนานยังคิดไม่ออกแต่แล้วความคิดหนึ่งก็แว๊บเข้ามา นี่คือความโชคดีอย่างหนึ่งที่ได้เขียนบันทึกประจำวันไว้ที่นี่ ก็เลยใช้ในการทบทวนความหลังได้บ้าง จึงบันทึกต่อในวันนี้
วันที่ 14-16 พ.ค. 2550 ได้พาครูทำสื่อที่โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ ได้สื่อ 13 ชิ้น ครบทุกคน แล้วก็เขียนเป็นแผ่น CD-ROM ไว้แล้ว พร้อมทำรายงานเป็นบันทึกการเดินทางไว้อีกฉบับ
วันที่ 14-16 พ.ค. 2550 ได้พาครูทำสื่อที่โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ ได้สื่อ 13 ชิ้น ครบทุกคน แล้วก็เขียนเป็นแผ่น CD-ROM ไว้แล้ว พร้อมทำรายงานเป็นบันทึกการเดินทางไว้อีกฉบับ
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
Ksnapshot บน Ubuntu 6.06
หลังการติดตั้ง Ubuntu 6.06 และติดตั้ง inkscape 0.44 เพิ่มเติมแล้วสิ่งที่อยากได้ต่อมาอีกคือ Ksnapshot โปรแกรมจับภาพหน้าจอที่น่าใช้อีกโปรแกรมหนึ่ง สามารถเลือกจับภาพหน้าจอได้หลายแบบ เอาไว้ใช้งานเขียนเอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมต่างๆ เหมาะมากที่ครูจะติดตั้งไว้ในเครื่องเพื่อใช้เขียนคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือเก็บภาพหน้าจอเพื่อประกอบเอกสาร ใบงาน ใบความรู้ต่างๆ สำหรับโรงเรียนที่นำลินุกส์ไปใช้ในโรงเรียนนะครับ ผมเห็นว่าการมีโปรแกรมหลายๆแบบไว้ให้นักเรียนได้ใช้ก็ดีนะครับ
การติดตั้งโปรแกรมใช้ Synaptic ครับง่ายดี ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า Ubuntu รวมทั้งลินุกส์อื่นๆ การติดตั้งโปรแกรมง่ายมาก ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นเพียงแค่ต่ออินเทอร์เน็ต ทุกอย่างก็ OK สามารถติดตั้งโปรแกรมต่างๆได้นับไม่ถ้วน ดี แถมด้วยความเสรี และ ฟรี
การติดตั้งโปรแกรมใช้ Synaptic ครับง่ายดี ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า Ubuntu รวมทั้งลินุกส์อื่นๆ การติดตั้งโปรแกรมง่ายมาก ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นเพียงแค่ต่ออินเทอร์เน็ต ทุกอย่างก็ OK สามารถติดตั้งโปรแกรมต่างๆได้นับไม่ถ้วน ดี แถมด้วยความเสรี และ ฟรี
inkscape 0.44 บน ubuntu 6.06
วันวานตอนหัวคำ- 4 ทุ่ม และตอนหัวรุ่ง ทำการอับเดด ubuntu 6.06 ว่าจะไม่อับเดดแล้ว แต่ก็ด้วยความที่อยากใช้ inkscape 0.44 ก็เลยต้องมาอับเดด ความจริงน่าจะใช้ 0.45 เพราะตอนติดตั้งก็ติดปัญหาเดียวกัน แต่คิดอีกอย่างก็คาดว่าไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย การติดตั้ง inkscape 0.44 ครั้งนี้ทำแบบง่ายๆ คือ การดับเบิลคลิกที่ไฟล์ .deb ต่อจากนั้นเครื่องก็จะแจ้งสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อๆไป เพียงแค่ทำตามขั้นตอนของระบบติดตั้งก็สำเร็จแล้ว นับเป็นขั้นตอนที่ง่ายมาก นับจากนี้การใช้งาน Linux ก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้ใช้งานอีกต่อไป โรงเรียนต่างๆอาจนำไปเป็นตัวเลือกให้ผู้เรียนได้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ดีๆได้ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แพงๆ บางประเทศเขาอาจใช้โปแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ประเทศของเราการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมไม่มีให้พบเห็นเลย เมื่อลองคิดคร่าวๆดูว่าปีหนึ่งๆเราเสียค่าลิขสิทธิ์ปีละไม่น้อยทีเดียว ถ้าโรงเรียนไหนประหยัดหน่อยลินุกส์ก็เป็นทางออกที่ดี
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
Presario2200 กลับมาใช้ Ubuntu 6.06
และแล้วก็ต้องกลับมาใช้ Ubuntu 6.06 เหมือนเดิม เพราะเครื่อง Hp Presario2200 ที่ใช้งานอยู่ ทำงานช้า (อุปทานหรือเปล่าก็ไม่รู้)เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Ubuntu 6.06 อาจเป็นเพราะเครื่องยังไม่แรงพอ หรือเป็นเพราะว่าดันไปใช้ core2duo เมื่อกลับมาใช้ celeron เลยทำให้รู้สึกว่าช้า
วันนี้ทดลองติดตั้ง Inkscape 0.45 ปรากฏว่าไม่ได้ผล แล้วก็ดันจำไม่ได้ว่าครั้งก่อนดาวน์โหลด Inkscape 0.44 มาจากไหน วันนี้เลยต้องมาเขียนบล็อกไว้ เพื่อเตือนความจำ ถ้าวันไหนติดตั้งอีกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยที่ต้องควานหา package ที่ต้องการใช้อีก หลังจากการควานหาไปพบที่นี่ http://ubuntuforums.org/showthread.php?t=202916
แล้วตามลิงค์ในกระดานข่าวไปเว็บที่เขาให้ดาวน์โหลด
หวังว่าคงไม่พลาดอีกครั้ง
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งเขียนไว้แล้วอย่างนี้
sudo dpkg -i inkscape_0.44-1_i386.deb
สรุปการติดตั้งครั้งนี้ไม่สำเร็จขอรับ
ที่ติดตั้งครั้งก่อนสำเร็จอาจเป็นเพราะมีการอับเดดมาตลอด
ครั้งนี้จะไม่ทำการอับเดด เพราะเป็นเวอร์ชั่นเก่าแล้วต้องอับเดดเยอะ ขี้เกียจคอย
เวอร์ชั่นนี้แหล่ะ เหมาะสมกับเครื่องแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)