๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๙

ปีใหม่กับงานสนุกๆ


ปีใหม่ใกล้มาแล้ว มีงานสนุกๆอีกมากมายรออยู่ ใจจดจ่อกับงานที่รออยู่ข้างหน้าพร้อมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ของอดีตครูดีเด่น ตอนนี้เป็นศึกษานิเทศก์แล้วแต่ก็ยังสนุกกับงานที่ส่งผลโดยตรงกับเด็ก เพราะเด็กทุกคนเกิดมาเพื่อเก่ง ตอนนี้กำลังมีโปรเจคพาครูสร้างสื่อเพื่อให้นักเรียนได้ใช้งาน อยากให้ครูนำไปใช้งานจริงๆ เพราะผลงานของครูอยู่ที่การได้ใช้งานจริง ไม่ใช่แค่ทำเป็น ครูหลายคนหลงทางอยากได้แต่ความรู้เพื่อทำเป็นแล้วทำกองไว้ ซึ่งก็ไร้ค่าเพราะเด็กไม่ได้ใช้ หรือได้ใช้แต่ก็ไม่ได้เก็บผลอย่างถูกวิธี จึงไม่สามารถนำมาเป็นผลงานทางวิชาการได้เพราะไม่ได้ใช้หรือไม่ได้มีการวางแผนการใช้ที่ถูกต้องนั่นเอง เริ่มต้นใหม่ปีใหม่นี้นะ ให้เด็กได้ใช้สื่อที่สร้างขึ้น อย่างเป็นขั้นตอน ครูจะได้นำมาอ้างอิงเป็นผลงานทางวิชาการได้

๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙

สร้างบทเรียนบนเว็บที่สวงษ์วิทยาคม


วันนี้ไปร่วมทำงานกับ อาจารย์สมปอง เอมรัตน์ เพื่อพาครูสร้างบทเรียนบนเว็บ หลายๆคนไม่เคยมีพื้นฐานด้านการเขียนเว็บมาก่อนแต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แม้หลายคนจะเคยชินกับการใช้เวิร์ดที่ดับเบิลคลิกไฟล์เพื่อเปิดมาแก้ไขก็ตาม ก็พยายามเปลี่ยนความเคยชินกับการทำงานแบบดับเบิลคลิกไฟล์ ไปเป็นคลิกขวา แล้วเลือกโปรแกรมสำหรับทำงาน สับสนบ้างกับโปรแกรมอ่านอย่างเดียวกับโปรแกรมสำหรับแก้ไขเว็บ ฝึกอีกนิดก็ใช้ได้แล้ว

วันนี้ทุกคนทำได้ จากจำนวนคน 8 คน ที่ไม่ได้เตรียมเนื้อหามาเลย ก็สามารถสร้างสื่อต้นแบบได้ 8 เรื่อง ภาพบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ทุกคนทำงานอย่างมีความสุขไม่ยอมกินข้าวกินปลา นี่แหล่ะเสน่ห์ของการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์

๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๙

ApacheและPHP5

เมื่อวานคุยกับศร เรื่องการทดลองใช้ SME cms แล้วทำการดาวน์โหลด SMEcms มาทดลองใช้
ลองเปิดโฟลเดอรดูเนื้อหาภายในและอ่านคู่มือการใช้จึงทราบว่า ต้องจำลองเครื่องให้เป็นเซิร์ฟเวอร์
การใช้งานบนลินุกซ์แบบที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่ติดตั้ง Apache และ PHP5
เพิ่มเติมก็เรียบร้อยแล้ว เพราะระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถเพิ่มเติมบริการได้พร้อมทั้งให้บริการได้ทันที
เลยทำกรติดตั้งด้วย Synaptic เพราะง่ายดี มีตัวเลือกให้เลือก (เลือกทั้งสองรายการไว้แล้ว Apply ทีเดียว)
ทีนี้อยู่ในส่วนของการทดลอง ก็แค่เปิด บราวเซอร์แล้วพิมพ์ localhost ก็จะเข้าสู่ที่ติดตั้งเว็บแล้ว
แต่เอ..ถ้าจะสร้างห้องสำหรับทดลองงานหล่ะ..(ที่นี่อนุญาตให้เฉพาะ root เท่านั้นที่เขียนได้)
ขั้นตอนเพียงแค่เราแปลงร่างเป็น root ก็สร้างได้แล้ว เข้าทางเทอร์มินอลง่ายดี
พิมพ์อย่างนี้ $sudo su - ใส่รหัสผ่านก็เป็น root แล้ว
เข้าไปที่เว็บรูต #cd /var/www
สร้างโฟลเดอร์ #mkdir test (สมมติว่าชื่อ test แล้วกัน)
แล้วเปลี่ยนเจ้าของให้เป็นของเรา เราจึงจะใช้งานได้
#chown apidej test
แค่นี้เราก็จะเข้าไปใช้งานโฟลเดอร์ test ได้

๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙

ลินุกซ์ทะเล8.0เบต้า

ลินุกซ์ทะเล8.0 ออกเบต้าแล้ว
ดีใจจัง ยังไม่ได้ลอง แต่รู้สึกดีใจที่ในที่สุดเราก็มีเวอร์ชั่นใหม่
คิดว่าน่าจะมีคนใช้ลินุกซ์มากขึ้น
ตอนนี้ยังดาวน์โหลดไม่ได้แต่ก็เป็นกำลังใจ
มีอะไรใหม่ๆเยอะทีเดียวต้องลองแล้ว
การติดตั้งเป็นแบบ text ด้วย
แล้วยังมีอะไรที่เหมาะกับภาษาไทยด้วย

๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙

ssh บน Edubuntu 6.06

เมื่อคืนตกใจหมดนึกว่าเครื่อง Edubuntu6.06ที่บ้านจะแย่เสียแล้ว
ด้วย P III 700 RAM 128 ช้ามากๆ ทำงัยดี สมมติฐานเกิดขึ้นมากมาย เช่น
ฮาร์ดดิสมั้ง ความเร็วไม่รู้เท่าไหร่ แต่ขนาด 10 GB หรือ ว่าเพราะแรมน้อยไป
สิ่งที่พอทำได้คือ เปลี่ยนแรมหล่ะนะ ตกลงเพิ่มแรมเข้าไปอีก 128
เป็น 256 แต่ อ้าวใช้การไม่ได้ (คิดไว้แต่ต้นแล้ว) งั้นถอดออก
ใส่เพิ่มอีกแค่ 64 คงพอมั้ง แล้วก็ใช้ไม่ได้เหมือนเดิม บูสไม่ขึ้น
งั้นถอดออกหมดเหลือไว้เท่าเดิม แต่แล้วก็บูสไม่ขึ้นอีก โอ้ยทำงัยดี
งานของเด็กๆก็ยังอยู่ในเครื่อง เลยถอดแรมมาทำความสะอาดแล้วเสียบเข้าไปใหม่
ทำงานได้แฮะ งั้นย้ายข้อมูลไปอีกเครื่องดีกว่า ที่เสียบอุปกรณ์ดันอยู่ข้างหลังใช้ไม่สะดวก
งั้นใช้วิธี FTP ดีกว่าดูแล้วเท่ดี แต่ลงเพคเกจดันไม่ได้ซะนี่
งั้นใช้ shell ดีมั๊ย ดูจะโปรกว่า ว่าแล้วก็จัดการติดตั้งเพคเกจทั้งสองเครื่อง โดยใช้คำสั่ง
sudo apt-get install ssh
คอยไม่ถึงนาทีเสร็จแล้ว ลงทั้งสองเครื่องเลย
ต่อจากนั้นก็คัดลอกแฟ้มจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งได้แล้วซิ
มีคนแนะนำว่าอย่างนี้
การคัดลอกไฟล์/โฟลเดอร์ จากเครื่องที่อยู่ไกลออกไปมายังเครื่องที่เรากำลังทำงาน
สมมุติว่าเครื่องอยู่ไกลออกไปมี ip 192.168.1.31
ชื่อผู้ใช้คือ user
spc -r user@192.168.1.31:/home/user/ชื่อไฟล์
ไฟล์จะถูกคัดลอกมาไว้ที่ current directory ที่เรากำลังทำงานอยู่
การคัดลอกไฟล์/โฟลเดอร์จากเครื่องที่เรากำลังทำงานไปยังเครื่องที่อยู่ไกลออกไป
สมมุติว่าเครื่องที่อยู่ไกลออกไปมี ip 192.168.1.31
ชื่อผู้ใช้คือ user
scp -r ชื่อไฟล์ user@192.168.1.31:/home/user/

เออดูโปรดีนะ ใช้วิธีพิมพ์ข้อความบนเทอร์มินอลซะด้วย
แล้วเด็กๆจะใช้เป็นมั๊ยนี่ แต่ก็ต้องลองหล่ะนะ

๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๙

Edubuntu 6.06 อีกเครื่องแล้ว

วันนี้ทนไม่ได้กับไวรัสที่รุกรานซะจนลำคาญ
เด็กๆ เขาเลือกที่จะใช้ ลินุกซ์ เพราะเคยใช้ linux TLE มาก่อน
ก็เลยเปลี่ยนเป็น Edubuntu 6.06 ไปอีกเครื่อง
กลายเป็นว่าตอนนี้ใช้ Ubuntu 3 เครื่อง
Ubuntu 6.06 /1เครื่อง
Edubuntu 6.06 /2 เครื่อง
ส่วนคอมฯ Dell คงจะต้องคอย CD-ROM
หรือไม่ก็ปลดประจำการเช่นเดียวกับรุ่นพี่
486 DX2 66MHz , AMD K6 II 266MHz
และ AMD K6 II 400MHz
การติดตั้งบน P III 700 MHz RAM 128 ไม่พบปัญหาอะไร
ติดตั้งแบบ Text Mode อาจใช้เวลานานหน่อยเพราะแรมน้อย แต่ก็ OK
ส่วนการอับเดดวันนี้ช้าผิดปกติ อินเทอร์เน็ตช้ามาก

Ubuntu 7.04 ออกตัวทดลองแล้ว

เมื่อวานเข้าเว็บ Ubuntuclub แล้วเจอข่าวให้ดาวน์โหลด Ubuntu 7.04 "Feisty Fawn" ทดลองใช้งาน
เขาได้ให้ความหมายไว้ว่า "Feisty Fawn" หมายถึงกวาง 7.04 เขาว่ามาจาก 2007 และ 04 คือ เดือน 04
หรือเมษายน สรุปก็คือ ได้ทดลองใช้ก่อนเวอร์ชั่นจริงจะออก เกือบ 5 เดือน
ดาวน์โหลดจากลิงค์
http://cdimage.ubuntu.com/cdimage/releases/feisty/herd-1/feisty-desktop-i386.iso
วันพรุ่งนี้จะใช้เครื่องที่สำนักงานดาวน์โหลดตั้งแต่เช้าเลย คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง
เหมือนรุ่นก่อนๆ

๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙

กลับไปเป็น Edubuntu 6.06

กลับไปใช้ Edubuntu 6.06 อีกแล้ว เพราะ Ubuntu 6.10 บูตช้า ใจร้อนไม่อยากคอย
(ตอนติดตั้งก็มีปัญหาบ้าง คงเป็นสาเหตุ)
การติดตั้งครั้งนี้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการแบ่งพาร์ติชั่นจากการ install บน Text mode
การติดตั้งครั้งนี้ไม่พบปัญหาอะไร ราบรื่นมากและใช้เวลาน้อย เครื่อง P III 933 RAM 256
คงจะยืดอายุให้ยาวนานขึ้น ระยะเวลาแค่ 2 วัน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่าง Edubuntu 6.06 และ Ubuntu 6.10
ปัญหายังอยู่ที่การแสดงผล Firefox ์ คงต้องตามแก้ทุกยูสเซอร์
ใช้แบบหลายยูสเซอร์ให้เด็กๆเปลี่ยนเองคงยาก ให้ใช้อย่างเดียวไปก่อนแล้วค่อยแนะนำการจัดการทีหลัง
Edubuntu 6.06 แก้ไขเรื่อง Firefox ได้แล้ว ทำตามขั้นตอนบนเว็บที่เขียนไว้แล้ว
system>Administrator>Language support >ภาษาไทย
ตอนเข้าระบบให้กำหนดภาษาเป็นภาษาไทยก็เท่านั้น
เรื่องแฟลชเพลเยอร์เดี๋ยวนี้ติดตั้งได้ง่ายขึ้นแล้ว
ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ต้องติดตั้งเอง

วันนี้กับคอมพ์เก่า


จะว่าไปคอมพ์เก่าก็ยังใช้งานได้ดี แต่ความมั่นใจลดลงเยอะ
เปิดตั้งแต่ 7 โมงเช้า กว่าจะปิดก็ปาเข้าไปเกือบ 6 ทุ่มแทบทุกเครื่อง
ใช้เวลา 1 วันเต็มๆ กับการเปลี่ยนระบบไปใช้ Opensource ทั้งเครื่อง
เริ่มจาก Edubuntu 6.06 จนกระทั่งเปลี่ยนไปเป็น Ubuntu 6.10

ตอนนี้ก็เป็น Ubuntu ซะ 2 เครื่อง แต่ก็คงไม่ครบทุกเครื่อง
เพราะที่โรงเรียนเขายังใช้วินโดวอยู่

๙ ธันวาคม ๒๕๔๙

เริ่มต้นกับ ubuntu 6.10

วันนี้ ติดตั้ง ubuntu 6.10 ใหม่บน P III 933 RAM 128 ตัวเดิม เพราะเปิด Edubuntu 6.06 ขึ้นมาแล้วมีปัญหาตอนอับเดด พอรีสตาร์ตเครื่องแล้วมีปัญหาเปิดไม่ขึ้น เครื่องคงแก่เกินไป หรือแรมน้อยเกินไป เลยเปลี่ยนไปลง Ubuntu 6.10 ตั้งแต่เช้า ก็ยังทำไม่ได้เพราะใจร้อน ช่วงเที่ยงครูเปิ๊ลโทรไปคุยด้วยเลยสอบถามปัญหา พบว่าเคยเจอปัญหาเหมือนกันที่ลงไม่ผ่านกับเครื่องที่มีแรมขนาดนี้ แต่จะไม่เกิดขึ้นถ้าใช้แรมมากกว่านี้ กลับมาจากไพรบึงเลยเพิ่มแรมเป็น 256 ก็สามารถติดตั้งได้ราบรื่นแต่ไม่สามารถติดตั้งผ่านระบบ text ได้ สมมติฐานอาจเป็นเพราะ HD ไม่ดีก็ได้จึงทำการแบ่งพาร์ติชั่นใหม่ แบ่งเป็น 3 พาร์ติชั่น แยกพาร์ติชั่นบ้านไว้ต่างหาก วิธีนี้ผ่านได้
แต่ไม่รู้ว่าใช้เวลาไปเท่าไรเพราะขั้นตอนติดตั้งก็ทิ้งเครื่องไว้ให้ติดตั้งเอง แล้วออกไปเดินเล่นรอบๆบ้าน ขนาดบ้านตัวเองยังไม่ค่อยได้เดินออกมานอกประตูบ้านเลย วันนี้พิเศษได้เดินรอบบ้าน กลับมาจึงเริ่มเปิดเครื่องใหม่ ....ใช้ได้ดีแล้วตอนนี้

เริ่มต้นกับ edubuntu 6.06

นี่เป็นครั้งแรกกับการใช้งานจริงบน Edubuntu 6.06
กว่าจะติดตั้งได้ก็ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง นับตั้งแต่ 6 โมงเย็น เป็นต้นมา
(คืนชีพเครื่องคอม P III 933 RAM 128)
ไม่ใช่อะไรมากเพียงแค่ติดตั้งไม่ผ่าน
สมมติฐานเกิดขึ้นมากมายนับตั้งแต่แผ่นบกพร่องมั้ง (พึ่งได้รับจากเนเธอร์แลนสดๆร้อนๆ) เปลี่ยนไป 3 แผ่นก็ไม่ผ่าน ลองเชคแผ่นดู ก็ไม่มีข้อบกพร่อง
สมมติฐาน2 หรืออาจจะเป็นเพราะ เครื่องอ่านแผ่นไม่ดี งั้นเปลี่ยนเลย เปลี่ยนไป 3 ตัวก็ไม่ผ่าน
เอ....งั้นเกิดจากอะไร
สุดท้ายจึงมาตั้งสมมติฐานใหม่ ว่ากระบวนการทำงานเป็นอย่างไร เครื่องอ่านแผ่นแล้วเอาข้อมูลไปเก็บไว้ที่ไหนก่อนมั๊ย แล้วจึงติดตั้งลงบน HD .... RAM อยู่ในข่ายต้องสงสัยหรือเปล่า งั้นก็เปลี่ยน RAM ดู เพราะมี RAM สำรองอยู่
ผลที่ได้ คือ ฉลุยครับงานนี้ ไม่ติดขัดเลย สรุปว่า RAM น่าสงสัยที่สุดเพราะเก่ามากแล้ว
พอดูนาฬิกา เกือบตีหนึ่งซะแล้ว
สำเร็จแล้วก็ทดลองนี่หล่ะ
น่าใช้มาก พรุ่งนี้อาจเปลี่ยนเป็น 6.10 ก็ได้ เพราะแผ่นก็มีอยู่ แต่คิดอีกที แค่นี้ก็ถมเถ ไม่ต้องรุ่นใหม่ก็ได้
เพราะของเขาดีอยู่แล้ว

๘ ธันวาคม ๒๕๔๙

นึกว่า SIS เกลียด Ubuntu ซะแล้ว

วันนี้ใช้เวลาตั้งนานพยายาม ssh เข้าเซิร์ฟเวอร์ SIS ที่ติดตั้งใหม่
ยังงัยก็ยังเข้าไม่ได้ จนต้องไปนั่งทำหน้าเครื่อง เพียงแค่พิมพ์บรรทัดเดียวเท่านั้น (เสียฟอร์มหมด)
แปลกใจก็ตรงที่ ใช้ putty ดันใช้ได้นี่สิ น่าแปลกใจมาก แต่ก่อนแต่ไรไม่เคยเป็นอย่างนี้
หรือว่า SIS คงเกลียด Ubuntu แล้วซิ
มาทบทวนดูสิ่งที่เทอร์มินอลตอบข้อผิดพลาดให้มาก็ยังเดาอะไรไม่ถูก
พอ ssh ไปที่เซิร์ฟเวอร์อีเลิร์นนิ่งก็ผ่านฉลุย เอ..อะไรกันนี่ หรือเราไปทำอะไรผิดไว้ก็ไม่รู้
จากนั้นเลยทบทวนซ้ำจากข้อคอมเม้นต์ของเทอร์มินอลพบว่า
เออ ที่บ้านเรา(/home)มีโฟลเดอร์ที่มองไม่เห็นอยู่นะ (.ssh) ตามที่เทอร์มินองคอมเมนต์มาเลย
งั้นลองเข้าไปดูข้างในซิมีอะไร ว่าแล้วก็ สั่งเทอร์มินอลเลย
$cd .ssh แล้วลอง ls ดู อา..มี known_host จริงๆด้วย
แล้วไฟล์นี้เขามีไว้ทำไม คงบันทึกรายชื่อ host ที่เคย ssh เข้าไปมั๊ง
งั้นก็ลองแก้ไขดูหน่อยประไร เลย $cp known_host เป็นชื่ออื่นก่อน กันเหนียว
แล้ว $pico known_host ลบบรรทัดสุดท้ายออกเพราะว่าที่มีปัญหาก็คงเป็นโฮสต์สุดท้ายนี่แหล่ะ
เพราะไม่เคยไปเถลไถลที่ไหน เสร็จแล้วเซฟไฟล์ งั้นลอง ssh ดูอีกที
ผ่านฉลุย...เออ อย่างนี้ก็มีด้วย ไม่รู้ไปทำยังงัยให้ SIS เขาโกรธหล่ะ Ubuntu

๗ ธันวาคม ๒๕๔๙

การติดตั้งฟอนต์วินโดว

เป็นอันว่าต้องเสียความบริสุทธิ์แล้วเพื่อให้ปริ้นต์ได้
คงเพียงระยะเวลาที่ยังแก้ไขปัญหาการปริ้นต์ไม่ได้เท่านั้น
ถ้ามีสมาชิกแก้ปัญหาได้คงไม่ต้องใช้วิธีนี้
ขั้นตอนการทำงาน ตามลำดับดังนี้
1.คัดลอกฟอนต์ของวินโดวจาก c:\WINDOWS\Fonts เก็บไว้ก่อน
2.ทำงานบนเทอร์มินอลโดยแปลงร่างเป็น root เพื่อสามารถเข้าใช้งานในส่วนสำคัญได้ ด้วยคำสั่ง
$sudo su - ผลคือ จะได้ root shell #
3. ตอนนี้ต้องรู้ไว้ว่าฟอนต์ของ ubuntu เก็บไว้ที่ /usr/share/fonts
เข้าไปทำงานอยู่ในโฟลเดอร์นี้โดยใช้คำสั่ง
# cd /usr/share/fonts
4.สร้างไดเรคทอรีสำหรับเก็บไฟล์ฟอนต์ ในที่นี้ใช้ชื่อว่า windows ด้วยคำสั่ง
#mkdir windows
5.คัดลอกฟอนต์วินโดวมาเก็บไว้ที่นี่ เนื่องจากเตรียมไฟล์ฟอนต์ไว้ที่บ้านของตัวเองในโฟลเดอร์ fwinเลยใช้คำสั่งอย่างนี้ #cp /home/....../fwin/ชื่อไฟล์ /usr/share/fonts/windows
(ความจริงตรงชื่อไฟล์ใช้* ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่อย่าดีกว่าฝึกไว้จะได้ชำนาญ)
คัดลอกจนครบ แล้ว ls ดูเพื่อความแน่ใจ
6.ใช้คำสั่ง #mkfontdir
แล้วตรวจสอบโดย ls ดูจะพบไฟล์ fonts.dir
7.ถอยหลังขึ้นไปหนึ่งขั้นด้วยคำสั่ง #cd ..
ls ดูจะพบไฟล์ชื่อ fonts.cache-1
เปิดไฟล์นี้มาแก้ไข โดยคำสั่ง #pico fonts.cache-1
เติมคำต่อไปนี้ไว้ที่บรรทัดสุดท้าย
"windows" 0 ".dir"
เซฟไฟล์
8. ใช้คำสั่ง
#fc-cache -f -v
ต่อจากนั้นรอสักครู่ไม่รู้เขาทำอะไร
เพราะขั้นตอนทั้งหมดก็ลอกเขามา แต่ได้ผลจริงๆ
แค่นี้ก็เรียบร้อยใช้งานได้

ปริ้นเอ้าท์ได้สมบูรณ์แล้ว

หลังจากพยายามมานาน (หาข้อมูลการแก้ไขการปริ๊นท์เอ้าท์ บน ubuntu 6.06)บน hp1010
เมื่อวานมีคนแก้ปัญหาได้ วันนี้ทดลองดูแต่เช้า เออได้ผลจริงๆ้
วันนี้เลยต้องบันทึกไว้ เดี๋ยวลืม
วิธีการคือ ต้องยอมเสียความบริสุทธิ์บ้าง โดยติดตั้งฟอนต์ของวินโดวเพิ่มเติม ทำตามเว็บนี้
http://www.linuxsiam.com/view.php?topic_id=63
ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จ จะว่าไปแล้วก็ติดปัญหาอยู่บ้างในตอนแรก เพราะความจำไม่ดีเท่าไหร่ ลืมไปว่า
จะใช้คำสั่งอะไรจึงจะได้ root shell จะใช้ su ก็ไม่ได้ผล ที่แท้ต้อง sudo -s -H
หรือ sudo su -
แล้วยังมีปัญหาอีกคือ ตอน cp ดันลืมบอกปลายทางซะอีก
ทีนี้เลยต้องบันทึกเพิ่มเติมไว้อีก กลัวลืม
เพราะไม่ค่อยได้ใช้คำสั่งมากนักในการทำงานบน desktop
ทีนี้ก็ไม่ต้องเปลี่ยนเวอร์ชั่นแล้ว เราจะโบราณ ใช้ ubuntu 6.06 ต่อไป
(ขนาด ubuntu ออกเวอร์ชั่นใหม่ทุก 6 เดือน นะยังอยากจะโบราณเลย เพราะขนาดโบราณยังเยี่ยมเลย)