๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

การติดตั้ง ปริ๊นเตอร์ canon pixma mp287 บน ubuntu 10.10

วันนี้ติดตั้งปริ๊นเตอร์ Canon MP287 บน Ubuntu 10.10 รุ่นที่ชอบใช้ทั้งๆที่ปัจจุบันรุ่นที่ทันสมัยที่สุดคือ 11.10 จะรุ่นไหนก็ตามปัญหามีอยู่ว่าจะใช้งานยังงัยให้คุ้มค่ามากกว่า
วันวานมีปัญหาการต่ออินเทอร์เน็ตที่สำนักงาน..ต่อไม่ติดซึ่งก็พึ่งรู้ว่าสาย VDSL หลุด (เออ..เป็นไปได้) งั้นเข้าเรื่อง
ขั้นตอนแรกไปดาวน์โหลดไดรเวอร์จาก
http://support-asia.canon-asia.com/contents/ASIA/EN/0100301402.html
ดาวน์โหลดแล้วแตกไฟล์ (ทดลองติดตั้งโดยใช้ ./install.sh แต่ไม่สำเร็จ)
ต่อจากนั้นเข้าไปในโฟลเดอร์ที่อยู่ข้างในแล้วดับเบิลคลิกไฟล์ .deb ในโฟลเดอร์ packages เลือกเอาให้ตรงรุ่น

๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ติดตั้ง Flash player บน Ubuntu 10.10

วันนี้แก้ไขการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะโปรแกรมไฟร์ฟอกส์เล่นแฟลชแล้วแสดงอาการติดๆขัดๆ บางครั้งก็แครชไปเฉยๆ อาจเป็นไปได้ว่าติดตั้งปลั๊กอินหลายตัวเกินไป ทำให้เวลาอ่านไฟล์แฟลชแล้วเกิดคอนฟลิกระหว่างปลั๊กอินที่ติดตั้ง
การแก้ไขวันนี้ทำโดยลบ gsnash ออก และเอา flash player ของ adobe ออกไปด้วย แล้วติดตั้ง adobe flash player จาก software center ใหม่ แต่ปรากฏว่าการติดตั้งค้าง ทนรอไม่ได้เลยปิดการติดตั้งจาก software center แล้วดาวน์โหลดมาติดตั้งเองจาก source file ขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอะไร
อันดับแรกไปดาวน์โหลด source file มาจากเว็บ adobe
ต่อจากนั้นจึงเปิดเทอร์มินอล แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้
(เก็บไฟล์ไว้ที่ Downloads)
cd Downloads
ls (ดูรายการว่ามีไฟล์ที่ดาวน์โหลดมั๊ย..ทั้งๆที่รู้..แต่ติด..ชอบทำอย่างนี้)
ต่อจากนั้นพิมพ์คำสั่งสำหรับแตกไฟล์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
sudo tar -zxvf install_flash_player_10_linux.tar.gz -C /usr/lib/firefox-addons/plugins
(แค่พิมพ์พาสเวิร์ด..ตอนที่มีการถาม..แล้วเอ็นเทอร์)
ต่อจากนั้นเปิดไฟร์ฟอกส์..ก็สามารถเล่นไฟล์แฟลชได้อย่างราบรื่น

๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

Lubuntu บน celeron 1.7 GHz 512 MB

หลังจากที่ได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสภาพเก่ามาใช้งาน เป็นเครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว เนื่องจากเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะต่ำในสายตาของคนทั่วไป อีกทั้งเป็นเครื่องที่ติดไวรัสจนการทำงานต่างๆรวนไปหมด เครื่องนี้จึงได้ตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่ไม่เกี่ยงว่าจะใช้เครื่องแบบไหน..แต่ขอให้ทำงานได้ก็นับว่าเพียงพอแล้ว เมื่อรับเครื่องมาแล้วสิ่งแรกที่ทำคือเปิดเครื่องแล้วลองทำงานดูปรากฏว่า เป็นอย่างที่กล่าวขวัญถึงคือ นอกจากจะทำงานฃ้าเมื่อเทียบก้บเครื่องรุ่นที่ใหม่กว่า และมีหน่วยความจำที่มากกว่า (ถ้าไม่คิดมาก ก็ใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำอะไร) แต่ที่เป็นปัญหา คือ อาการแฮงค์ในบางครั้ง และการติดไว้รัสซึ่งตรวจสอบได้จากการนำทัมป์ไดรฟมาเสียบจะพบไฟล์ต่างๆ ติดไปด้วยมากมาย
เป็นอันว่าหลังจากเปิดเครื่องมาแล้วและทดลองใช้งานไม่ถึงครึ่งวัน อาการโหยหาลินุกส์ก็เกิดขึ้น
งั้นเครื่องนี้ก็ต้องกลายเป็นลินุกส์แบบสมบูรณ์ทันที ลบทุกอย่างที่เป็นวินโดว์ ไม่ให้เหลือความเป็นวินโดว์
ระบบปฏิบัติการที่มองหา คือ ลินุกส์ ลินุกส์ที่ว่านี้ต้องเป็นลินุกส์ที่สามารถทำงานได้ดีบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างเก่าแบบนี้ได้ สิ่งที่มองหาในระยะแรกๆ ได้แก่ Puppy, DSL, Xubuntu และ Lubuntu
สุดท้ายก็ตัดสินใจเลือก Lubuntu 11.10 เพราะคุ้นเคยกับค่ายนี้ และใช้งานในชีวิตประจำวัน (90% ของการใช้งาน คือ Ubuntu linux) ใช้มาตั้งแต่รุ่น 6.10 มาจนถึงรุ่นปัจจุบัน 11.10
ติดตั้งเสร็จติดปัญหาว่า พอเปลี่ยนภาษาแล้วไม่มีอะไรที่บ่งชี้ว่า ตอนนี้ใช้คีย์บอร์ดแบบไหน ลองค้นหาหลายวิธีมีแต่ยากมากๆ ข้อมูลไม่ตรงกันเพราะเป็นรุ่นเก่าๆ แล้วในที่สุดก็ค้นพบ เลยเขียนไว้กันลืมที่นี่
1. คลิกขวาบนพาแนล
2. เลือกคำสั่ง Add/Remove Panel Item
3. เลือก System tray
4. คลิก Add
5. เลือก Keyboard Layout Switcher
เป็นอันว่าหลังจากที่ทำตามขั้นตอนคร่าวๆ นี้แล้วจะมีภาพธงชาติของภาษาที่ใช้ปรากฏให้เห็น