๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑

การติดตั้ง Audacity บน ubuntu

วันนี้ติดตั้ง ubuntu บน P III 933 Ram 125 แต่ไม่สำเร็จไม่รู้สาเหตุเพราะอะไร ติดตั้งได้แป๊บเดียว เครื่องก็รีสตาร์ต อาการอย่างนี้บางคนบอกว่าเป็นเพราะตัวต้านทานบางตัวบนเมนบอร์ดอาจจะบวม ต้องเก็บไว้ซ่อม อีกเครื่องเป็น P III 500 Ram 125 เครื่องนี้บู๊ตไม่ขึ้น คือแม้แต่บู๊ตยังไม่ผ่านไบออสเลย ต้องไปตรวจเมนบอร์ดก่อนว่าจะพอแก้ไขอะไรได้บ้าง ถ้าแก้ไขได้เครื่องนี้จะเป็นตัวที่ใช้ทำงานตัวหนึ่ง ตอนนี้เลยใช้เฉพาะ P III 866 ram 256 ที่เคยติดตั้ง crunchbang เอามาติดตั้ง ubuntu8.04.01 แทนลงไป
โปรแกรมที่ลูกอยากใช้คือ audacity หลังจากติดตั้งแล้วทำงานได้แต่ส่งออกเป็น mp3 ไม่ได้เพราะเขาต้องการไลบรารี่อีกตัวช่วยในการทำงาน /usr/lib/libmp3lame.so.0 เลยต้องหาวิธีการแก้ไข ทำง่ายๆอย่างนี้
1. ติดตั้ง lame
2. ติดตั้ง liblame0
3. ติดตั้ง liblame-dev
ทำทั้ง3 อย่างนี้แล้วทุกอย่างก็ ok ส่งไฟล์ออกมาเป็น mp3 ได้

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑

crunchbang linux บนเครื่อง p III 866 R 256

วันวานติดตั้ง crunchbang linux บนเครื่อง PIII 866 RAM 256 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่มีอยู่เครื่องนี้ติดตั้งแทน Ubuntu 8.04 ที่ติดตั้งไว้เดิม จากการเปรีบเทียบการทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้รู้สึกได้ทันทีเลยว่าทำงานนได้เร็วกว่าเดิม สิ่งที่เป็นปัญหาในตอนต้นคือ ไม่รู้ว่าจะติดต่อกับแฟลชไดรฟ อย่างไร แต่ไดด้คนที่เขามีคความมชชำนาญช่วยแนะนำ เลยเอามาแปะไว้ที่นี่เพื่อกันลืม คุณ kids จาก http://forum.ubuntuclub.com/index.php/topic,7217.15.html แนะนำไว้ว่า
ที่จริงไม่ต้องติดตั้งแอะไรมันก็อ่านเขียนบน NTFS ได้อยู่แล้วครับ
ส่วนการเพิ่มเมนูให้ไปที่
preferrence--openbox config ดู GUI config menu เปิดมาเลือกใส่
คำสั่งเรียกโปรแกรมไว้ตรงไหนก็ได้ บางโปรแกรมต้องใช้สิทธิ์รูทเรียกให้ใส่
gksu หน้าคำสั่งครับ

โปรแกรม บางตัวติดตั้งแล้วจะอยู่ในเมนูอีกตัว คลิกขวาที่ panel แล้ว add มันจะมีขึ้นมาให้เลือก menu แล้วไอคอนจะมาอยู่ในพาเนล ในเมนูนี้จะมี
บางโปรแกรมก็ไม่ปรากฏในเมนูหลักของครันช์แบงก์ครับ

แถม อีกนิด ครีนช์แบงก์จะไม่เมานท์ พาร์ติชั่นอื่นโดยอัตโนมัติครับ (ก็ดีเหมือนกัน ไม่เสียเวลาเเพิ่มตอนสตาร์ตเครื่องอีกนิด) เราต้องเมาท์เอาเอง วิธีที่ผมใช้คือ
สร้างคำสั่งเมานท์พาร์ติชั่นแต่ละอันใส่เมนูไว้ เวลาต้องการใช้ค่อยเรียกเอา

วิธีคือสร้าง โฟลดเดอร์ ใน /media ชื่ออะไรก็ได้ สมมติว่าชื่อ sda1

คำสั่ง

gksu mount -t ntfs /dev/sda1 /media/sda1

/dev/sda1 นี้คือตำแหน่งของพาร์ติชั่น(NTFS)ที่ต้องการเมานท์ ซึ่งของคนอื่นอาจจะเป็น sda อะไรก็แล้วแต่ หลังจากเมานท์แล้ว พาร์ติชั่นนั้นจะอยู่ใน /media

หลังจากได้คำแนะนำมาก็เลยทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น